วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความเป็นมา ของ อินเทอร์เน็ต โพรโตคอลรุ่นที่ 6 (IPv6)

ความเป็นมา ของ อินเทอร์เน็ต โพรโตคอลรุ่นที่ 6 (IPv6)
(IPv6) ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักในการแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนหมายเลขไอพีซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชันที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานของเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิตในการระบุหมายเลยไอพีIPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า "IPng" (IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายและ node แบบ intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระ การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่ายIP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็น 3 ประเภทคือ unicast (host เดี่ยวไปยัง host เดี่ยวอื่น ๆ) anycast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัวที่ใกล้ที่สุด) multicast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัว) ส่วนเพิ่มที่พิเศษของ IPv6 คือ- ตัวเลือกในการระบุส่วนขยายของส่วนหัว ได้รับการตรวจสอบเฉพาะจุดหมาย ดังนั้นความเร็วของระบบเครือข่ายสูงขึ้น - ตำแหน่ง anycast ทำให้มีความเป็นไปได้ของการส่งข้อความไปยังหลาย ๆ gateway ที่ใกล้ที่สุดด้วยแนวคิดว่าให้บุคคลใด ๆ บริหารการส่งแพ็คเกตไปยังบุคคลอื่น anycast สามารถใช้ในการปรับปรุงตาราง routing ตลอดเส้นทาง - แพ็คเกตได้รับการระบุให้มีการไหลชนิดพิเศษได้ ทำให้แพ็คเกตที่เป็นส่วนของมัลติมีเดียที่ต้องการ นำเสนอแบบ real time สามารถมีคุณภาพการให้บริการที่สูง - ส่วนหัวของ IPv6 รวมถึงส่วนขยายยินยอมให้แพ็คเกตระบุกลไกแหล่งต้นทาง สำหรับการรวมข้อมูล และรักษาความลับIETF ใช้เวลากว่าสามปีในการพัฒนาจนได้โพรโตคอล IPng (IP Next Generation) โดยมีความเป็นมาโดยสังเขปดังนี้ช่วงปลายปี 1992 มีการยื่นข้อเสนอในการพัฒนาโพรโตคอลดังกล่าวทั้งหมด 4 ฉบับ อันได้แก่ CNAT, IP Encaps, Nimrod และSimple CLNP ต่อมาในเดือนธันวาคมปี 1992 มีการส่งข้อเสนอเพิ่มอีก 3 ฉบับคือ The P Internet Protocol (PIP), The SimpleInternet Protocol (SIP) และ TP/IX หลังจากนั้นฤดูใบไม้ผลิในปี 1992 ข้อเสนอที่ชื่อว่า Simple CLNP ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น TCPand UDP with Bigger Addresses (TUBA) และ IP Encaps เปลี่ยนเป็น IP Address Encapsulation (IPAE)ในปี 1993 IPAE ได้รวมเข้ากับ SIP โดยยังคงใช้ชื่อว่า SIP ซึ่งต่อมากลุ่มนี้ได้รวมกับกลุ่ม PIP กลายเป็นคณะทำงานที่เรียกตัวเองว่า Simple Internet Protocol Plus (SIPP) โดยในเวลาเดียวกันนั้นกลุ่มคณะทำงาน TP/IX ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น CommonArchitecture for the Internet (CATNIP)กล่าวได้ว่า ณ เวลานั้น มีข้อเสนอ 3 ชุดที่ถูกนำมาทำการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเอกสาร RFC1726 อันได้แก่ CATNIP
TUBA และ SIPP
1. CATNIP (Common Architecture for Next Generation Internet Protocol) ได้ทำการสร้างความเป็นสามัญระหว่าง Internet (IPv4, TCP, UDP), OSI (CLNP, TP4, CLTP) และโพรโตคอล Novell (IPX, SPX)2. TUBA (TCP and UDP with Bigger Addresses) ได้แทนที่เน็ตเวิร์คเลเยอร์ด้วย ISO's CNLP ซึ่งประกอบไปด้วยชุดหมายเลขแอดเดรสที่มีขนาดใหญ่กว่าในขณะที่ TCP/UDP สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องทำการปรับปรุง ทั้งยังทำงานร่วมกับ IDRP,IS-IS และ ES-IS ได้3. SIPP (Simple Internet Protocol Plus) ได้นำคุณลักษณะบางอย่างใน IPv4 ที่คิดว่าไม่เหมาะสมออก และทำการปรับปรุงส่วนหัวของโพรโตคอลเสียใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทำการเพิ่มขนาดของแอดเดรสจากเดิม 32 บิตเป็น 64 บิต (ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นรุ่น 128 บิต ในเดือนกรกฎาคม 1994 กุล่มผู้บริหารโครงการ IPng Area (คณะทำงานที่ถูกแต่งตั้งโดย Internet Engineering Task ForceIETF ในปี 1993 เพื่อทำหน้าที่ในการประเมินเลือกสรรข้อเสนอ IPng ได้สรุปผลการประเมินทั้งสามข้อเสนอรวมถึงคำแนะนำ และแนวทางในการพัฒนา IPv6 อย่างเป็นทางการไว้ในเอกสาร RFC 1752 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้- นโยบายการแบ่งสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส (รุ่นที่ 4) ที่ใช้ในขณะนั้นสามารถใช้งานต่อไปได้แล้ว- ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียกคืนชุดหมายเลขไอพีรุ่นที่ 4 ที่มีการใช้ประโยชน์ต่ำกว่าเกณฑ์กลับคืนมา- ไม่มีความจำเป็นจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงชุดหมายเลขไอพี (Renumber) ที่ถูกใช้งานอยู่ในอินเทอร์เน็ตเสียใหม่- ให้ใช้หลักการแบ่งสรรหมายเลขไอพีคลาส A ที่เหลืออยู่แบบ CIDR- ข้อกำหนด "Simple Internet Protocol Plus (SIPP) Spec. (128 bit ver)" จะถูกเลือกให้เป็นต้นแบบพื้นฐานสำหรับการพัฒนาIPng- คณะทำงาน IPng ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Steve Deering และ Ross Callon- คณะทำงาน Address autoconfiguration ถูกก่อตั้งและนำทีมโดย Dave Katz ร่วมกับ Sue Thomson- คณะทำงาน IPng Transition ถูกก่อตั้งและนำทีมโดย Bob Gilligan- จะต้องมีการพัฒนาการใช้งานแอดเดรสของ non-IPv6 ในสภาพแวดล้อมของ IPv6 และในทางกลับกันการใช้งานไอพีแอดเดรสIPv6 ภายใต้สภาพแวดล้อมของ non-IPv6-โครงการ IPng Area จะสิ้นสุดลงเมื่อมีการเสนอมาตรฐานสำหรับโพโตคอลดังกล่าวออกมาในปลายปี 1994- ให้มีการพัฒนา Informational RFCs ที่บรรยายถึงคุณลักษณะเฉพาะของ IPng APIs- ต้องสนับสนุน Authentication header และ algorithm อย่างเฉพาะเจาะจง- ต้องสนับสนุน Privacy header และ algorithm อย่างเฉพาะเจาะจง- ต้องมีการพัฒนาโครงร่างของระบบ Firewall สำหรับ IPngและในช่วงกลางปี 1994 เช่นกัน IPng ได้รับการกำหนดหมายเลขรุ่นโดยหน่วยงาน Internet Assigned Numbers Authority(IANA) ให้เป็นรุ่นที่ 6 อันเป็นที่มาของ IPv6ต่อมาเอกสาร RFC1752 ชุดนี้ได้ถูกยอมรับและดำเนินการต่อโดยคณะทำงานภายใต้ IETF ที่ชื่อว่า Internet EngineeringSteering Group (IESG) ในที่สุดIPv6 คือIPv6 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 6" ซึ่งจะเป็น Internet protocol รุ่นต่อไป ออกแบบและคิดค้นโดย IETF เพื่อที่จะนำมาใช้แทน Internet Protocol รุ่นปัจจุบันคือ IP Version 4 ("IPv4")ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ เราจะใช้ IPv4 ที่มีอายุเกือบ 20 ปีแล้ว และเริ่มจะมีปัญหาคือ IPv4 addresses กำลังใกล้จะหมด เนื่องจากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ที่ต้องการจะต่อกับ Internet เพิ่มขึ้นทุกวันIPv6 จึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดใน IPv4 เช่น เพิ่มจำนวน IP address ที่ใกล้จะหมด และได้เพิ่มความสามารถ บางอย่างให้ดีขึ้นกว่า IPv4 ด้วย เช่นความสามารถในด้าน routing และ network autoconfigurationIPv6 ถูกกำหนดให้แทนที่ IPv4 แบบค่อยเป็นค่อยไป คือช่วงระหว่างการเปลี่ยนจาก IPv4 เป็น IPv6 คงใช้เวลาหลายปี จะต้องให้ IP ทั้งสองเวอร์ชั่นทำงานร่วมกันได้ เครื่องไหนเปลี่ยนเป็น IPv6 แล้วก็ต้องให้ IPv4 เข้าใช้บริการได้IPv4 addresses ก่อนIPv4 ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น 192.168.1.1 หรือ 203.97.45.200 มาจากเลขฐานสอง(มีเลข 1 กับเลข 0 เท่านั้น) จำนวน 32 บิทตัวอย่าง 110000001010100000000001000000001ถ้าเป็น IP แบบนี้ IP เดียว คงจะพอจำได้ แต่เวลาอ้างถึง IP คงจะบอกกัน หนึ่ง หนึ่ง ศูนย์ ศูนย์.......... เป็นที่ลำบาก ทั้งคนบอกและคนฟัง เพื่อให้สื่อถึงกันได้ง่ายขึ้น จึงใช้วิธีเปลี่ยนเป็นเลขฐานสิบ ที่เราคุ้นเคย แต่ถ้าเปลี่ยนทีเดียวทั้ง 32 บิท เป็นเลขฐานสิบแล้ว ก็ยังเป็นจำนวนสูงมาก ยากที่จะจดจำเช่นกัน จึงใช้แบ่งเลขฐานสอง 32 บิทที่ว่าเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 8 บิท 4 ช่วง จากนั้นก็แปลงเลขฐานสอง 8 บิทเป็นเลขฐานสิบแต่ละช่วงคั่นด้วย "." ตัวอย่าง เช่นตัวอย่าง 11000000 10101000 00000001 000000001 = 192.168.1.1สำหรับท่านที่ไม่เคยเรียนวิธีการแปลงฐานเลข อาจจะงง ได้เลข 192.168.1.1 มาอย่างไร มาดูวิธีการแปลงฐานเลข กันสักหน่อยดีไหม สูตรการแปลงฐานเลข (จำไม่ได้เหมือนกัน นึก ๆ เอา ถ้าผิดขออภัย)N*B(x-1)เมื่อ N คือจำนวนเลขที่เราเห็น 0 หรือ 1 สำหรับเลขฐานสอง ถ้าเป็นฐานอื่น ก็จะมีเลชมากกว่านี้ เช่น ฐานแปด ก็จะมีเลข 0 – 7B คือฐานเลข ในที่นี้ เท่ากับ 2 เพราะเป็นฐานสอง ถ้าฐานแปด B ก็จะเท่ากับแปดX เป็นหลักที่เลข N อยู่11000000 = 1*27 + 1*26 + 0*25+ 0*24 + 0*23 + 0*22 + 0*21 + 0*20= 128 + 64 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0= 19210101000 = 1*27 + 0*26 + 1*25+ 0*24 + 1*23 + 0*22 + 0*21 + 0*20= 128 + 0 + 32 + 0 + 8 + 0 + 0 + 0= 16800000001 = 0*27 + 0*26 + 0*25+ 0*24 + 0*23 + 0*22 + 0*21 + 1*20= 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 1= 1พอว่าเรื่องการแปลงฐานเลข ทำให้นึกได้ เมื่อก่อนนี้ ไม่เข้าใจเลย เช่น เวลา Network admin ให้มาว่า เน็ตเวอร์กคุณคือ 203.46.246.64/28 นะ เราก็พอรู้ว่า /28 น่ะคือ netmask แล้วมันคือ netmask เท่าไร หาได้อย่างไร ตอนหลังจึงทราบว่า 28 มาจาก mask ตัวเลข 1 ไป 28 บิท(ของ 32 บิท) ที่เหลือเป็น 0 หมด เขียนเป็นเลขฐานสอง 8 บิท 4 ชุดได้ว่า11111111 11111111 11111111 11110000 พอรู็ว่าเป็นแบบนี้ ก็แปลงเป็นฐานสิบจากวิธีการข้างบนได้ว่า 255.255.255.240IPv6 addressesIPv6 ประกอบด้วยเลขฐานสอง จำนวน 128 บิท ถ้าจะคิดว่า จะเป็น IPs ต่าง ๆ กันได้กี่ IPs ก็หาได้จาก 2^128-1: 340282366920938463463374607431768211455คงเป็นไปไม่ได้ ที่ใครจะจำ 128 บิท IPs ได้ ถึงแม้จะแปลงเป็นเลขฐานสิบแล้วก็ตาม เพราะเป็นเลขถึง 39 หลัก ดังนั้นผู้ค้นคิด จึงตัดสินใจใช้เลขฐาน 16 แทน เพราะ 4 บิทของเลขฐานสอง แปลงเป็นเลขฐาน 16 ได้ 1 หลักพอดี คือ 0-9 จากนั้นก็ใช้ a-f แทน 10-15 (ถ้าใครไม่รู้จักเลขฐาน 16 ก็คือหนึ่งหลักมีเลขเริ่มต้นจาก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 a b c d e f) ดังนั้นเลข ip ก็จะเป็นเลขฐาน 16 จำนวน 32 หลัก (128/4)fffffffffffffffffffffffffffffff ซึ่งก็ยังจำและเขียนยากอยู่ดี หรือว่าเขียน ตกไปหนึ่งตัว ก็จะทำให้ผิดความจริงไปได้ เพื่อให้สังเกตุเห็นได้ง่าย ผู้ค้นคิดจึงกำหนดให้ใช้ ":" ขั้น แต่ละ 16 บิท(ฐานสอง) หรือ 4 หลักของเลขฐาน 16 ได้ผลเป็น ffff:ffff:ffff:ffff:ffff:ffff:ffff:ffffตัวอย่าง IPv6 address3ffe:ffff:0100:f101:0210:a4ff:fee3:9566เลข 0 ที่นำหน้า ของแต่ละ 16 บิท สามารถละไว้(ไม่ต้องเขียน)ได้3ffe:ffff:0100:f101:0210:a4ff:fee3:9566 -> 3ffe:ffff:100:f101:210:a4ff:fee3:9566ในแต่ละ 16 บิทบล็อค ถ้ามีแต่เลข 0 สามารถแทนด้วย "::" แต่ห้ามเขียนแบบนี้ ":::" 3ffe:ffff:100:f101:0:0:0:1 -> 3ffe:ffff:100:f101::1การลดรูปมากที่สุดก็คือlocalhost address0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0001 -> ::1IPv4 แล้วทำไมถึงเป็น IPv6 ทำไมไม่เป็น IPv54 บิทแรกของ IP header จะถูกกันไว้เป็นตัวบอกเวอร์ชั่นของ IP ดังนั้นเวอร์ชั่นของ IP ที่จะเป็นได้คือ 0 - 15- 4 ถูกนำมาใช้แล้ว สำหรับ IPv4 ในปัจจุบัน - 5 สำรองไว้ใช้สำหรับ Stream Protocol (STP, RFC 1819 / Internet Stream Protocol Version 2) ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ยังไม่ได้นำมาใช้งาน ดังนั้นเลขที่เหลือตัวต่อไปก็คือ 6 ด้วยเหตุนี้ จึงเป็น IPv6ทำไม IPv6 จึงใช้ถึง 128 บิท มากเหลือเกิน ?ตอนออกแบบ IPv4 ผู้คนก็พากันคิดว่า 32 บิทนะพอแล้ว พอใช้งานแน่ ๆ ถ้าเราดูกันจริง ๆ แล้ว 32 บิทน่ะก็พอใช้งานจนถึงปัจจุบัน และก็คงพอใช้งานไปอีกสัก 2-3 ปีข้างหน้า แต่จะไม่พอใช้งาน ในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะต่อไปข้างหน้า อุปกรณ์หลาย ๆ ชนิด จะต้องใช้ IP กันแล้ว เช่น โทรศัพท์มือถือ, รถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ electronics ในรถ, เตาอบ, ตู้เย็น ฯลฯดังนั้น ผู้ออกแบบจึงเลือก 128 บิท บิทมากกว่าเดิม 4 เท่า และมี IP มากกว่า IPv4 เดิม 2^96 IPsแต่ IPs ที่ใช้งานได้จริง จะน้อยกว่าจำนวนที่เห็น (2^128) เพราะการกำหนด address จะใช้แค่ 64 บิท ส่วนอีก 64 บิทที่เหลือ จะกำหนดเป็น routing ดังนั้น 128 บิทนี่ก็มีโอกาสจะไม่พอใช้ในวันข้างหน้า แต่หวังว่าจะไม่ใช่เร็ว ๆ นี้Address Typeเช่นเดียวกับ IPv4, IPv6 address ก็แบ่งออกเป็นส่วน network และ host โดยใช้ subnet masks.IPv6 จะแบ่ง 64 bits แรกเป็น network part และ 64 bits หลังเป็น host part Addresses without a special prefixIPv6 address ที่ไม่มีส่วนกำหนด network มีสองชนิดคือLocalhost addressเป็น address ที่ใช้สำหรับ loopback interface, ถ้าเป็น IPv4 ก็คือ "127.0.0.1" แต่ถ้าเป็น IPv6 localhost address จะเขียนแบบนี้ 0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0001 หรือเขียนแบบย่อจะได้ ::1Packets ที่มี source หรือ destination เป็น address นี้ จะไม่มีทางออกจากเครื่องที่ส่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ได้Unspecified address คือ address ที่หมายถึง "any" หรือ "0.0.0.0" ใน IPv4 สำหรับ IPv6 เขียนเป็น0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000 หรือเขียนแบบย่อ :: address นี้ ส่วนมากเราจะเห็นหรือใช้ใน socket binding (to any IPv6 address) หรือใน routing tables. Note: unspecified address ไม่สามารถใช้เป็น destination address ได้Network part หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า prefixเรามาดู prefix ชนิดต่าง ๆ กันดีกว่า ว่ามีอะไรกันบ้าง ในปัจจุบัน (อาจจะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
การใช้งาน IPv6 (Internet Protocol version 6)
การนำ IPv6 มาใช้ ควรจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการปรับเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลจะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมต่อกันอยู่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนไปสู่เครือข่าย IPv6 ล้วน อาจใช้ระยะเวลาเป็นปี เพราะเหตุนี้ ทาง IETF จึงเสนอทางออกเพื่อช่วยในการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 ในระหว่างที่เครือข่ายบางแห่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยนในช่วงแรก การใช้งาน IPv6 อาจอยู่ในวงแคบ ดังนั้นเราต้องการเทคนิคเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็น IPv6 เข้ากับเครือข่าย IPv4หรือเครือข่าย IPv6 อื่น เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ1. การทำ dual stack—เป็นวิธีพื้นฐานที่สุด ทำงานโดยใช้ IP stack สองอันคือ IPv4 stack และ IPv6 stack ทำงานควบคู่กัน เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv4 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv4 stack เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv6 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv6 stack การทำ dual stack เป็นทางออกที่ง่ายที่สุดแต่ไม่ใช่ long term solution เนื่องจากยังจำเป็นต้องใช้ IPv4 address ที่โฮสต์หรือเร้าท์เตอร์ที่ใช้ dual stack นั้น2. การทำ tunneling—เป็นอีกวิธีที่ใช้กันแพร่หลายเพราะเหมาะสมกับการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 ผ่านเครือข่าย IPv4 การส่งข้อมูลทำได้โดยการ encapsulate IPv6 packet ภายใน IPv4 packet ที่ tunneling gateway ก่อนออกไปยังเครือข่าย IPv4 ที่ปลายทาง ก่อนเข้าไปสู่เครือข่าย IPv6 ก็จะต้องผ่าน tunneling gateway อีกตัวซึ่งทำหน้าที่ decapsulate IPv6 packet และส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง จะเห็นได้ว่าการทำ tunneling นี้จะใช้ไม่ได้สำหรับการสื่อสารโดยตรงระหว่างเครื่องในเครือข่าย IPv6 และเครื่องในเครือข่าย IPv43. การทำ translation—การทำ translation จะช่วยในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4 เทคนิคการทำ translationมีสองแบบ แบบแรกคือการแปลที่ end host โดยเพิ่ม translator function เข้าไปใน protocol stack โดยอาจอยู่ที่ network layer,TCP layer, หรือ socket layer ก็ได้ แบบที่สองคือการแปลที่ network device โดยจะต้องใช้ gateway ทำหน้าที่เป็น IPv6-IPv4และ IPv4-IPv6 translator อยู่ที่ทางออกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4ทั้งนี้หลังจากการปรับเปลี่ยนเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเครือข่ายต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เป็น IPv6 ทั้งหมด เราสามารถทำการสื่อสาร โดยใช้โพรโตคอล IPv6 โดยตรง ซึ่งเราเรียกการสื่อสารลักษณะนี้ว่า native IPv6 networkการประยุกต์ใช้งาน IPv6 จะสามารถใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ผู้พัฒนาก็สามารถตอบสนอง ให้เป็นไปในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ ถ้าIPv4 สามารถทำได้ IPv6 ก็สามารถทำได้ และประสิทธิภาพในการสื่อสารต้องดีกว่า IPv4 ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการนำเอา IPv6 มาทำการเคลื่อนที่เหมือน IPv4 แต่จะลด Overhead และเพิ่มประสิทธิภาพของความปลอดภัยทำให้การทำงานดีขึ้นเมื่อย้ายไปเครือข่ายอื่นๆจนสามารถกลับมาเครือข่ายเดิมของตัวเอง ตลอดการเชื่อมต่อโดยผู้ใช้ไม่ต้องมาติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงค่าใหม่ตามเครือข่ายนั้นๆMobile IPv6Mobile IPv6 คือ การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่บนเครือข่าย IPv6 โดยปกติคอมพิวเตอร์พกพาหรือโน็ตบุคสามารถใช้งานตามที่ต่างๆ คล้ายกับการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงแต่คอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แทนหมายเลขโทรศัพท์ ทีนี้ทำอย่างไรให้ IP address ของเราติดไปกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนหมายเลขโทรศัพท์เวลาเราย้ายเครือข่าย มาตราฐาน Mobile IPv6 จึงถูกกำหนดขึ้นมาโดยให้เครื่องคอมพิวเตอร์มี IP address สองชุด ชุดแรกเป็นเสมือน บ้านเลขที่เดิมเรียกว่า Home Address ชุดที่สองเป็นเสมือนเลขที่ชั่วคราวซึ่งได้มาเวลาย้ายเครือข่ายเรียกว่า Care-of address จากนี้ทุกการติดต่อกับ Home Address ก็จะถูกส่งต่อโดยตัวกลางหรือ Home Agent มายัง Care-of address โดยไม่สะดุดคือทั้งผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องเปลี่ยนแปลง IP address ใดๆด้วยตนเอง
การใช้งาน Mobile IPv6
เมื่อเราต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตขณะเคลื่อนที่ การใช้ Mobile IPv6 ทำให้การส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตราบรื่น ทุกเครือข่ายต้องเชื่อมผ่านรูปแบบ IPv6 เราจะสามารถเคลื่อนย้ายในรูปแบบนี้ได้จากทุกที่ที่สามารถเชื่อมถึงกัน ในการทดสอบได้ทำอยู่ในระดับห้องทดลองก็จะมี การทดสอบในระดับโปรแกรมที่ใช้งาน 3 โปรแกรมคือการ ping ssh ftp และการ Streaming ได้แสดงผลของการทดลองให้ดูความแตกต่างและความสะดวกในการใช้งานเมื่อเราเคลื่อนย้ายไปสู่เครือข่ายอื่น องค์ประกอบที่สำคัญของ IPv61. Mobile Node (MN) อุปกรณ์เคลื่อนที่2. Corespoding Node's (CN) คู่สนทนา3. Home Agent (HA) ตัวกลางในการติดต่อกับ MN4. Home Network เครือข่ายเดิม5. Home Address หมายเลขไอพีเดิม6. Foreign Network เครือข่ายใหม่7. Care-of Address หมายเลขไอพีใหม่
ประโยชน์หลักของ IPv6
ประโยชน์หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน IP address ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน IP address เดิมภายใต้ IPv4 IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี 128 บิต ความแตกต่างของจำนวน IP address มีมากถึง 296 เท่า ความสำคัญของการมี IP address ที่ไม่ซ้ำกันและสามารถเห็นกันได้ทั่วโลก จะช่วยผลักดันการพัฒนา แอพพลิเคชั่นแบบ peer-to-peer ที่ต้องการ IP address จริงเป็นจำนวนมาก เช่นการทำ file sharing, instant messaging, และ online gaming แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีข้อจำกัดภายใต้ IPv4 address เนื่องจากผู้ใช้บางส่วนที่ได้รับจัดสรร IP address ผ่าน NAT (Network AddressTranslation) ไม่มี IP address จริง จึงไม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ได้ การใช้ IP address ปลอม อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในอนาคตหากต้องมีการรวมเครือข่ายสองเครือข่ายที่ใช้ IP address ปลอมทั้งคู่ อีกทั้ง การใช้ IP address ปลอม เป็นการปิดโอกาสที่จะใช้แอพพลิเคชั่นหรือบริการแบบ peer-to-peer เช่น IPsec ในอนาคต
ขั้นตอนการทำงานของ Mobile IP
1. เมื่อ MN เคลื่อนที่ไปยัง Foreign network จะได้รับ IP address ใหม่จากเจ้าของเครือข่าย เรียกว่า Care-of address2. MN ส่ง ฺBinding Update ไปยัง HA เพื่อประกาศ Care-of address ให้ Home network ทราบ3. HA ตอบรับโดยส่ง Binding Acknowledgement กลับ4. เมื่อ CN ต้องการติดต่อกับ MN จะติดต่อผ่าน HA (เพราะยังไม่ทราบว่ามีการเคลื่อนที่)5. HA ส่งต่อข้อมูลจาก CN ให้กับ MN โดยใช้ Care-of address ของ MN6. MN สร้าง tunnel ผ่าน HA เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยัง CN7. Return Routability: MN และ CN แลกเปลี่ยน test packet เพื่อทดสอบเส้นทางว่าทั้ง Home address และ Care-of-address นั้นใช้งานได้ โดย MN จะส่ง test packet ไปทั้งสองเส้นทาง เส้นทางแรกส่งผ่าน HA ไปยัง CN และเส้นทางที่สองส่งไปยัง CN โดยตรง จากนั้น CN ตอบรับ test packet ทั้งสองพร้อมทั้งส่งรหัสเพื่อเริ่มการติดต่อ8. Route Optimization: MN ส่ง Binding Update ไปยัง CN เพื่อประกาศ IP address ใหม่ จากนั้น CN จะตอบรับโดยส่ง Binding Acknowledgement กลับ จากนั้น MN และ CN จะติดต่อกันโดยตรงไม่ผ่าน HA โดยข้อมูลที่ส่งผ่านกันทั้งหมดนี้จะถูกเข้ารหัสลับเพื่อความปลอดภัยหมายเลขไอพี หรือ ไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอล Internet Protocol คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใครตัวอย่างของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236 ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า โดเมนแอดเดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.orgไอพีเวอร์ชัน 6ไอพีเวอร์ชันที่ 6 (IPv6) ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักในการแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนหมายเลขไอพีซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชันที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานของเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิตในการระบุหมายเลขไอพี

ข้อดี - ข้อเสีย ของ IPv6
ข้อดี1 มีหมายเลข IP Address มากกว่าเดิมมาก ทำให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้เครือข่ายมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเป็นการใช้งาน IP จริงทั้งหมด ต่างจากแต่ก่อนที่ไม่สามารถใช้งานได้ทุกเบอร์2 มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี3 เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processing จึงทำงานได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น4 ลดภาระในการทำงานของผู้ดูแลระบบด้านการบริหารจัดการ เนื่องจากมีการปรับแต่งระบบอัตโนมัติ5 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ (Mobile IP)ข้อเสีย1 การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกวิธี2 ประเทศไทยยังมีการติดตั้งเครือข่าย IPv6 ไม่มากนัก จะเกิดขึ้นกับคนบางกลุ่มหรือกับผู้ให้บริการรายใหญ่ๆเท่านั้น3 ในประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงไม่ตื่นตัวหรือสนใจที่จะใช้ IPv6 ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต
บทสรุป
ความจำเป็นในการใช้ IPv6 นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ IP Address ของผู้ให้และผู้ใช้บริการ ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือได้รับหมายเลข IPv4 address เป็นจำนวนมากถึงร้อยละ 70 ของ IP Address ทั้งหมดในโลก จึงเกินความจำเป็นที่ต้องใช้ IPv6 ในขณะนี้ แต่ในขณะเดียวกัน บางประเทศในแถบเอเชียและยุโรป จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงกว่าหมายเลข IPv4 address ที่ได้รับ จึงขาดแคลน IP Address รวมไปถึงสาเหตุที่มีความต้องการพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ต้องการใช้ IP Address มากขึ้น ปัจจุบัน ในประเทศไทยได้เริ่มมีการก่อตั้งคณะทำงานทางด้านนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพราะหากรอจนกระทั่งความจำเป็นดังกล่าวมาถึง โดยไม่ได้มีการวางแผนการปรับเปลี่ยนเครือข่ายล่วงหน้า อาจทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสียโอกาสหลายด้าน นอกจากนี้ เราทุกคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตควรตื่นตัวในการรับฟังข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวทางด้านนี้อยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถเตรียมพร้อมรับกับ IPv6 ในอนาคตอันใกล้
ข้อสอบ IPv4
1.IPv4 เป็นระบบที่ใช้กี่บิต
ก. 8 bit
ข. 16 bit
ค. 32 bit
ง. 64 bit
2.subnet mask ของ class A คือ
ก. 255.0.0.0
ข. 255.255.0.0
ค. 255.255.255.0
ง. ถูกทุกข้อ
3. subnet mask ของ class B คือ
ก. 255.0.0.0
ข. 255.255.0.0
ค. 255.255.255.0
ง. ถูกทุกข้อ
4. subnet mask ของ class C คือ
ก. 255.0.0.0
ข. 255.255.0.0
ค. 255.255.255.0
ง. ถูกทุกข้อ
5.mask 3 bit class C ได้กี่ subnet
ก. 5 subnet
ข. 6 subnet
ค. 7 subnet
ง. 8 subnet
6.mask 3 bit class C ได้กี่ host/sub
ก. 20 host/sub
ข. 25 host/sub
ค. 30 host/sub
ง. 35 host/sub
7.mask 4 bit class C ได้กี่ subnet
ก. 11 subnet
ข. 12 subnet
ค. 13 subnet
ง. 14 subnet
8.mask 4 bit class C ได้กี่ host/sub
ก. 14 host/sub
ข. 15 host/sub
ค. 16 host/sub
ง. 17 host/sub
9.mask 5 bit class C ได้กี่ subnet
ก. 28 subnet
ข. 29 subnet
ค. 30 subnet
ง. 31 subnet
10.mask 5 bit class C ได้กี่ host/sub
ก. 9 host/sub
ข. 8 host/sub
ค. 7 host/sub
ง. 6 host/sub
เฉลย
1. ค. 32 bit
2. ก. 255.0.0.0
3. ข. 255.255.0.0
4. ค. 255.255.255.0
5. ข. 6 subnet
6. ค. 30 host/sub
7. ง. 14 subnet
8. ก. 14 host/sub
9. ค. 30 subnet
10. ง. 6 host/sub

IPV4

IPV4
ที่มา : http://courseware.bodin.ac.th/~nantawat/network/subnetmask.htm
เรื่องราวของ IP Address ถูกกล่าวขานกันมาพร้อมกับการขยายตัวของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ใช้ภาษาในการสื่อสารกันที่เรารู้จักกันดีในชื่อ TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) และจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำจำนวน IP Address ไม่พอต่อความต้องการ จึงมีการพัฒนา IPv6 มาเสริมทัพกับ IPv4 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ แต่ถึงอย่างไร IPv4 ยังคงเป็นพื้นฐานสำหรับโลกอินเตอร์เน็ตอยู่ต่อไปอีกนานทีเดียว เรื่องการกำหนดหมายเลข IP (IP Addressing) เป็นพื้นฐานที่ดี ทั้งยังเป็นความรู้เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจ ได้พอสมควร IP Address เปรียบเสมือนกับเลขที่บ้านของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต การส่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ก็เหมือนกับการส่งจดหมาย ซึ่งต้องระบุบ้านเลขที่บนซองจดหมายเพื่อให้จดหมายถึงปลายทางได้อย่าถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เน็ตเวิร์ค ก็เช่นเดียวกัน จะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ซึ่งก็คือ IP Address นั่นเอง ข้อมูลที่ถูกส่งไปยังแต่ละเครื่อง (ต่อไปขอเรียกว่าโฮส) จะมีหมายเลข IP Address เพื่อบอกปลายทางที่จะติดต่อด้วยเสมอ IP Address ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็น IP version 4 หรือที่เรียกกันว่า IPv4 มีขนาด 4 byte แต่ละ byte มีขนาด 8 bit ดังนั้น IPv4 จึงมีขนาดเท่ากับ 32 bit เนื่องจากเป็นเลขฐานสอง เราคำนวณจำนวนโฮสได้จาก 2n ดังนั้นสามารถกำหนดหมายเลข IP Addressให้โฮสได้ทั้งหมด 232 = 4,294,967,296 โฮส แต่ก็ยังไม่พอใช้ นักพัฒนาจึงพัฒนา IP เป็น version 6 หรือ IPv6 ที่มีขนาด 128 bit และเริ่มนำมาเสริมกับ IPv4 ได้เป็น 2128 เมื่อ IP Address มีจำนวนมากขนาดนั้น เหตุผลหนึ่งคือเพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรร จึงแบ่ง IPv4 ออกเป็น Class ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 Class ทำให้ง่ายต่อการจัดสรรขึ้นมาอีกClass IP เริ่มต้น IP สิ้นสุด NetID (bit) HostID (bit)Class A 0.0.0.0 127.255.255.255 8 24 = 16777216Class B 128.0.0.0 191.255.255.255 16 16 = 65536Class C 192.0.0.0 223.255.255.255 24 8 = 256Class D 224.0.0.0 239.255.255.255 - multicast addressClass E 240.0.0.0 247.255.255.255 - Reserveตารางที่ 1 IP Address และจำนวนโฮสในแต่ละ Class" Class A มี NetID = 8 bit จาก IP Address ทั้งหมด 32 bit จึงเหลือ HostID 24 bit ทำให้มีจำนวนaddress ในเน็ตเวิร์คเดียวกันได้ทั้งหมด เท่ากับ 224 = 16777216 address " Class B มี HostID เท่ากับ NetID ดังนั้นมีจำนวน address เท่ากับ 216 = 65536" Class C เป็น Class ที่เล็กที่สุดทีใช้งานกัน มี HostID 8 bit ทำให้มี address ได้เท่ากับ 28 = 256 " Class D นั้นเป็น Multicast Address โดยสงวนไว้ใช้สำหรับอุปกรณ์ที่จะต้องมีการส่งข้อมูลในกลุ่มเดียวกัน" Class E ท้ายสุดของ IPv4 สงวนไว้ใช้ในอนาคต เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของ IPv4 เองรูปแบบการเขียน จะมีหมายเลขเรียนกัน 4 ชุด โดยมีจุดคั่นกลาง มีด้วยกัน 2 ชุดคือ IP Address และ Subnet Maskโดยตัวเลข ชุดแรกเรียกว่า IP Address หรือ Host Address ชุดหลังเรียกว่า Subnet Mask เช่น 192.168.1.1/255.255.255.0 เป็นต้นตารางที่ 2 แสดงหมายเลข IP Address ระหว่างเลขฐานสิบ และ ฐานสอง จากตัวอย่างเมื่อเปลี่ยน 192 เป็นเลข ฐานสองจะมีค่าเท่ากับ 1100 0000 ต้องจะใช้ความสามารถในการเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นฐานสอง ลองเปลี่ยนเลขถัดไปคือ 168.1.1 เป็น ฐานสอง จะได้เท่ากันกับในตาราง มีข้อแม้นิดนึงครับ คือต้องเปลี่ยนที่ละชุดตัวเลขระหว่างจุดIP Addressฐานสิบ ฐานสอง (32 bit)192.168.1.1 1100 0000 . 1010 1000 . 0000 0001 . 0000 0001Subnet Mask255.255.255.0 1111 1111 . 1111 1111 . 1111 1111 . 0000 0000ตารางที่ 2 ตัวอย่างหมายเลข IP Address และ Subnet Maskมาถึงเรื่องต่อไป คือคำว่า Private IP กับ Public IP กันบ้าง คำว่า Private IP หรือบางทีเรียกกันว่า Internal IP ผมให้นิยามไว้ให้หมายถึง IP Address ที่ไม่ใช้บน Internet และไม่สามารถติดต่อกับ Public IP ได้ แต่ไม่ใช่ซะทีเดียว เราสามารถใช้เทคนิค ที่เรียกว่า NAT (Network Address Translation) เข้าช่วยได้ Private IP นี้สามารถกำหนดขึ้นมาใช้ได้เอง โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับ Intranet ในหน่วยงาน ในส่วนของ Public IP หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า Real IP นั้นใช้ในเครือข่าย Internet โดยจะต้องขอไปยังหน่วยงานที่กำกับดูแล IP Address ในแต่ละประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละหน่วยงานที่ขอ IP Address ต้องได้หมายเลขที่ไม่ซ้ำกับใครเลยในโลกนี้ด้วยครับ ในประเทศไทยหน่วยงานที่กำกับดูแลคือ thnic.netClass IP เริ่มต้น IP สิ้นสุด NetID (bit) HostID (bit)Class A 10.0.0.0 10.255.255.255 24 24 = 16777216Class B 172.16.0.0 172.32.255.255 16 16 = 65536Class C 192.168.0.0 192.168.255.255 8 8 = 256คุ้นๆ กันบ้างกับตัวเลข 192.168.x.x ที่เห็นกันทั่วไปตามร้าน Internet Caf? หรือ Games Caf?' นะครับ นี่แหละ Private IP ทีนี้ลองมาดูส่วนประกอบของ IP Address ที่เขียนๆ กันบ้างว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง แล้วมีความหมายอย่างไร ลองดูตัวอย่าง IP Address ประกอบกับคำอธิบายด้านล่างครับตัวอย่าง IP Address = 192.168.1.1/255.255.255.01. IP Address หรือ Host Address คือ 192.168.1.12. Subnet Mask คือหมายเลขหลังเครื่องหมาย "/" คือ 255.255.255.0 โดยมีความหมายว่า มีจำนวนโฮสในเน็ตเวิร์คเท่าไหร่ ใน Class C คำนวณจำนวนได้โดยการนำค่าจำนวน HostID ที่มีขนาดเท่ากับ 8 bit หรือเท่ากับ 28 = 256 ลบด้วยค่าสุดท้ายของ Subnet Mask จากตัวอย่างคือ 256 - 0 = 256 ดังนั้นจึงมีจำนวนโฮสทั้งหมดเท่ากับ 256 โฮส แต่ในหนึ่งเน็ตเวิร์คจะต้องมี Network Address และ Broadcast Address เสมอ จึงมีโฮสเท่ากับ 254 โฮส3. Network Address บอกตำแหน่งเริ่มต้นของ IP Address ใน Class จากตัวอย่าง เป็นเน็ตเวิร์ค Class C ซึ่งมีโฮสทั้งหมดเท่ากับ 256 โฮส โดยมี IP Address เริ่มจาก 192.168.1.0 - 192.168.1.255 ดังนั้น Network Address คือ 192.168.1.0 4. Broadcast Address เป็นช่องทางของการส่งข้อมูลให้กับโฮสอื่นๆ เปรียบเสมือนการตะโกนเข้าไปในห้องที่มีคนอยู่รวมๆ กัน ซึ่งทำให้คนที่อยู่ในห้องได้ยินพร้อมๆ กันทั้งหมด โดย Broadcast Address จะเป็น IP Address สุดท้ายของเน็ตเวิร์คเสมอ จากข้อ 3 Broadcast Address จึงมีค่าเท่ากับ 192.168.1.255 มีการเขียน Subnet Mask อีกอย่างที่เห็นกันบ้างคือเขียนเป็นจำนวน bit เช่น 192.168.1.1/24 โดย 24 นี้ คือ NetID จาก 32 bit ของ IPv4 ทำให้เหลือ HostID เท่ากับ 8 bit (32 - 24) ดังนั้นจึงเขียน Subnet Mask เป็น /24 ซึ่งเท่ากับการเขียนโดยระบุ Subnet Mask 255.255.255.0 ทีนี้มารู้จักคำว่า Classless กัน มันหมายถึงการแบ่ง IP Class ต่างๆ ออกเป็นเน็ตเวิร์คย่อยๆ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า แบ่งไม่เต็มคลาส ยกตัวอย่าง Network คลาส C ซึ่งถูกแบ่งเป็นเน็ตเวิร์คละ 128 โฮส เขียนได้เป็น 192.168.1.3/255.255.255.128 นี่แหละ Classless มาดูว่าจะศึกษาจาก IP Address ข้างต้นอย่างไร โดยเราใช้ความรู้เรื่องพื้นฐานก่อนหน้านี้มาใช้กันเลย1. IP Address หรือ Host Address คือ 192.168.1.32. หาว่ามีจำนวนโฮสทั้งหมดกี่โฮส โดยการนำจำนวน 256 ซึ่งเป็นจำนวนโฮสสูงสุดของ Class C ลบด้วย ตัวสุดท้ายของ Subnet Mask คือ 256 - 128 = 128 โฮส 3. หาว่า Network Address มีค่าเท่าไหร่ โดยเอาที่เก็บไว้ในใจในข้อ 2 ออกมาซึ่งเท่ากับ 128 โฮส แล้วมาดู IP Address อย่างใกล้ชิด คอลเกต สังเกตเห็นว่า IP Address ตัวอย่าง มีค่าอยู่ในช่วงของเน็ตเวิร์คแอดเดรส 0-127 ดังนั้น Network Address ของ 192.168.1.3/255.255.255.128 คือ 192.168.1.04. Broadcast Address เท่ากับ Network Address + 128 ซึ่งเป็นจำนวนโฮสสูงสุดที่มีอยู่ใน Classless นี้ สำหรับ Broadcast นี้คือ 192.168.1.127 ถึงตอนนี้มีหลายคนสงสัย ผมบอกว่าให้เอา Network Address + จำนวนโฮส ก็เป็น 0+128 ทำไมได้ 127 (0 -127 มีทั้งหมด 128 ค่า ดังนั้น Address สุดท้ายจึงเป็น 192.168.1.127 )มาถึงการเขียน Subnet Mask เป็น bit กันครับเริ่มโดยหาว่า 2 ยกกำลังเท่าไหร่ ถึงจะได้เท่ากับจำนวนโฮส (128) ? ซึ่งมีค่าเท่ากับ 27 = 128 หลังจากนั้นนำค่า 32 (bit) ลบด้วยค่าที่หาได้ คือ 7 (bit) เหลือ 25 (bit) ดังนั้น จึงเขียน Subnet Mask อีกรูปแบบได้เป็น 192.168.1.1/25 เป็นอันเสร็จ การเขียนแบบนี้จะเจอในผู้ที่เก๋าประสบการณ์ มีกฎอีกนิดสำหรับกฎการแบ่ง Classless คือ ต้องแบ่งเป็นจำนวนเท่ากับ 2n เท่านั้น

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบเรื่อง IPv6 30 ข้อ
1. IP Address มีชื่อเต็มว่า
ก. Internet Protocall Address
ข. Internet Protocol Address

ค. Internat Protocall Address
ง. Internets Protocol Address

2. ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของ IP Address ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
ก. ตัวเลขสามารถซ้ำกันได้ทุกตัว
ข. สามารถใช้เครื่องหมาย “;” คั่นระหว่างเลขแต่ละหลักได้
ค. ตัวเลขทุกตัวจะต้องไม่ซ้ำกัน
ง. แต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่ต่างกัน
3. Internet Protocol version ใดที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
ก. IPv1
ข. IPv2
ค. IPv3
ง. IPv4
4. เหตุใดจึงมีการคิดค้น Internet Protocol version ใหม่ขึ้น
ก. เพราะ IP Address ที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้
ข. เพราะต้องมีการคิดค้นเวอร์ชันใหม่ทุกๆ 3 ปี
ค. เป็นการลงมติเห็นชอบจากเวทีโลก
ง. ไม่มีข้อใดถูก

5. IPv4 และ IPv6 แตกต่างกันอย่างไร
ก. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 64 บิต
ข. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 32 บิต
ค. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 128 บิต
ง. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 64 บิต

6. ข้อใดผิด
ก. IPv6 ผู้บริหารมีส่วนในการบริหารจัดการงานมากขึ้น
ข. IPv6 ระบบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ค. IPv6 เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processi
ง. IPv6 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ (Mobile IP)
7. เหตุใดประเทศในแถบอเมริกาเหนือจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ IPv6
ก. เพราะสังคมเป็นแบบประชาธิปไตย
ข. เพราะมี IP Address ที่กำหนดขึ้นใช้เองเฉพาะชาวอเมริกัน
ค. เพราะมีรากฐานเศรฐกิจที่มั่มคง
ง. เพราะได้รับการจัดสรร IP Address ไปถึง 70% ของ IP Address ที่ใช้ทั่วโลก
8. แนวโน้มการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ IP Address อย่างไร
ก. ทำให้ IP Address มีปริมาณเกินความต้องการ
ข. มีการนำเอา IP Address มาใช้กับเทคโนโลยี ทำให้ต้องการใช้ IP Address มากขึ้น
ค. เทคโนโลยีด้านอื่นจะเข้ามาแทนการใช้ IP Address
ง. การใช้ IP Address ควบคู่กับเทคโนโลยีจะถูกจำกัดในวงแคบ
9. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการมี IP Address ที่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
ก. สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในการสื่อสาร
ข. เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เหมือนคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องผ่านระบบใดๆ
ค. ทำให้ระบบภายในของอุปกรณ์นั้นๆ เกิดผลเสีย
ง. ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

10. เหตุใดเราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่อง IPv6
ก. เพราะหาก IPv4 ถูกใช้หมดไป IPv6 เป็นสิ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้
ข. เพื่อเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต
ค. เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจและโอกาสในหลายๆ ด้าน
ง. ถูกต้องทุกข้อ
11.การขอหมายเลข IP Address จะต้องไปจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาค หรือเรียกอีกอย่างว่า
ก. PIT
ข. RIR
ค. LPG
ง. PLI
12.ความจำเป็นในการใช้ IPv6 นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อะไร
ก. mont
ข. IP Address
ค. toryt
ง. fopbfor
13. IPv4 นี้มีที่มาจากเลขฐานสองขนาดกี่บิต
ก. 36 บิต
ข. 32 บิต
ค. 45 บิต
ง. 40 บิต
14. IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของอะไร
ก. Internet protobal
ข. Internet protoset
ค. Internet protocal
ง. Internet Protocol

15. IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็นกี่ประเภท
ก. 1 ประเภท
ข. 2 ประเภท
ค. 3 ประเภท
ง. 4 ประเภท
16. IPv6 มีขนาดของ address กี่ไบท์
ก. 10 ไบท์
ข. 11 ไบท์
ค. 13 ไบท์
ง. 16 ไบท์


17. การเคลื่อน IPv6 packet จาก segment หนึ่งไปอีก segment หนึ่งมีความง่ายขึ้นด้วยโครงสร้างการค้นหาเส้นทางแบบใด
ก. แบบลำดับชั้น
ข. แบบผสม
ค. แบบต่อเนื่อง
ง. แบบล่าง

18. RIR ที่ได้จัดสรรหมายเลข IPv6 มากที่สุด คือ
ก. RIPL MCC
ข. RIPE NCC
ค. RIPT ACC
ง. RIPG TCC
19. Pv6 สนับสนุนการปรับแต่งระบบแบบแบบใด
ก. แบบอัตโนมัติ
ข. แบบถาวร
ค. แบบชั่วคราว
ง. แบบต่อเนื่อง
20. IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน ใด
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5
ข้อสอบ 20 ข้อ
21.(IPV6) ย่อมาจากอะไร
ก. Internet Protocol Vertion6 ข. Vertion6
ค. Internet Protocol ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ก.
22.โพรโตคอลดังกล่าวทั้งหมดกี่ฉบับ
ก. 1ฉบับ ข. 2ฉบับ
ค. 3ฉบับ ง.4ฉบับ
เฉลย ง.
23.CATNIP ย่อมาจากอะไร
ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
ค.(Simple Internet Protocol Plus)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลยก.
24.TUBA ย่อมาจากอะไร
ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
ค.(Simple Internet Protocol Plus)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ข.
25. SIPP ย่อมาจากอะไร
ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
ค.(Simple Internet Protocol Plus)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ค.
26.แนวทางในการพัฒนาIPV6 อย่างเป็นทางการไว้ในเอกสาร RFC 1752 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
ก.นโยบายการแบ่งสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส
ข.ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียกคืนชุดหมายเลขไอพีรุ่นที่ 4 ที่มีการใช้ประโยชน์ต่ำกว่าเกณฑ์กลับคืนมา
ค.- ให้ใช้หลักการแบ่งสรรหมายเลขไอพีคลาส A ที่เหลืออยู่แบบ CIDR
ง.ถูกทุกข้อ
เฉยล ง.
27.โครงการ IPng Area (คณะทำงานที่ถูกแต่งตั้งโดย Internet Engineering Task Force, IETF ในปีค.ศ.ใด
ก.1991 ข.1992
ค.1993 ง.1994
เฉลย ค.
28.คณะทำงาน IPng ถูกก่อตั้งขึ้นโดยใคร
ก.Steve Deering และ Ross Callon ข.adda
ค.Ping ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก.
29.คณะทำงาน Address autoconfiguration ถูกก่อตั้งและนำทีมโดยใครบ้าง
ก. Ross Callon ข. Steve Deering
ค. Dave Katz ร่วมกับ Sue Thomson ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ค.
30.โครงการ IPng Area จะสิ้นสุดลงเมื่อปลายพ.ศ.ใด
ก.ปลายปี 1994 ข.ปลายปี 1997
ค.ปลายปี 1995 ง.ปลายปี 1990
เฉลย ก.

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบ 60 ข้อ
1.ข้อใดคือ 11001010.00011101.00111001.00000010
ก. 202.50.5.3
ข.202.53.3.2
ค. 202.29.57.2
ง.202.29.52
เฉลย ค. 202.29.57.2 ง.202.29.52

2.ข้อใดคือ 0111110.1.00011000.10011011.01000010
ก. 125.20.155.66
ข. 125.24.155.66
ค. 125.50.15.66
ง. 120.25.55.58
เฉลย ข. 125.24.155.66

3.42.58.5.29 คือ IP Class อะไร
ก. A
ข. B
ค. C
ง. D

4.IP Class A รองรับได้กี่ Host
ก. 2^10 Host
ข. 2^16 Host
ค. 2^14 Host
ง. 2^8 Host
เฉลย ก. 2^10 Host

5. IP Private Class C รองรับได้กี่ Host
ก. 2^10 Host
ข. 2^16 Host
ค. 2^14 Host
ง. 2^8Host
เฉลย ง. 2^8Host

6. คลาสของ Network ข้อใดคือ class A
ก. N.N.N.H
ข. N.H.H.H
ค. N.H.N.H
ง. H.H.H.N
เฉลย ข. N.H.H.H

7.คลาสของ Network ข้อใดคือ Class C
ก. N.N.N.H
ข. N.H.H.H
ค. N.H.N.H
ง. H.H.H.N
เฉลย ก. N.N.N.H

8.Private IP Addresses Class B คือ
ก. 192.168.0.0 through 192.168.255.255
ข. 172.16.0.0 through 172.16.255.255
ค. 10.0.0.0 through 10.255.255.255
ง. 172.16.0.0 through 172.31.255.255
เฉลย ง. 172.16.0.0 through 172.31.255.255

9.Broadcast Address ของ Class C คือ
ก. 255.255.255.254
ข. 255.255.255.256
ค. 255.255.255.255
ง. 255.255.255.0
เฉลย ค. 255.255.255.255

10.ข้อใดคือ Private IP Address
ก. 12.0.0.1
ข. 172.20.14.36
ค. 168.172.19.39
ง. 172.33.194.30
เฉลย ข. 172.20.14.36

11.Subnet Mask ของ /17 คือ
ก. 255.255.128.0
ข. 255.248.0.0
ค. 255.255.192.0
ง. 255.255.248.0
เฉลย ก. 255.255.128.0

12.Subnet Mask ของ /25 คือ
ก. 255.255.128.0
ข. 255.255.255.128
ค. 255.255.255.0
ง. 255.255.255.240
เฉลย ข. 255.255.255.128

13.Subnet Mask ของ /20 คือ
ก. 255.255.240.0
ข. 255.240.0.0
ค. 255.255.255.0
ง. 255.255.255.240
เฉลย ก. 255.255.240.0

14.Network Mask ของ Class C คือ
ก. 255.0.0.0
ข. 255.255.0.0
ค. 255.255.255.0
ง. ถูกเฉพาะ ข้อ ข.
เฉลย ง. ถูกเฉพาะ ข้อ ข.

15.network Mask ของ Class C คือ
ก. 255.0.0.0
ข. 255.255.0.0
ค. 255.255.255.0
ง. ถูกทุกข้อ.
เฉลย ค. 255.255.255.0

16.สัญลักษณ์ของการ Mark คือ
ก. #
ข. \
ค. .
ง. /
เฉลย ง. /

17.CIDR คือ
ก. การจัดสรร Subnet แบบไม่แบ่งคลาส
ข. การจัดสรร IP แบบไม่แบ่งคลาส
ค. การหาเส้นทางแบบไม่แบ่งคลาส
ง. การจับรอดแคสสัญญาณข้อมูล แบบไม่แบ่งคลาส

18.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 3 Bit ของ Class C มี CIDR เท่ากับ
ก. /21
ข. /25
ค. /27
ง. /29
เฉลย ค. /27

19.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 5 Bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
ก. /15
ข. /17
ค. /19
ง. /21
เฉลย ง. /21

20.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 8 Bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
ก. /16
ข. /20
ค. /24
ง. /27
เฉลย ค. /24

21.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 5 Bit ของ Class A มี CIDR เท่ากับ
ก. /13
ข. /21
ค. /30
ง. ผิดทุกข้อ
เฉลย ก. /13

22.จำนวน Host ของการ Mark 4 Bit Class C เท่ากับเท่าใด
ก. 2024 Host
ข. 254 Host
ค. 18 Host
ง. 14 Host
เฉลย ง. 14 Host

23.จำนวน Host ของการ Mark 5 Bit Class C เท่ากับเท่าใด
ก. 2 Host
ข. 6 Host
ค. 14 Host
ง. 30 Host
เฉลย ข. 6 Host

24.จำนวน Subnet ของการ Mark 4 Bit Class A เท่ากับเท่าใด
ก. 2 Subnets
ข. 6 Subnets
ค. 14 Subnets
ง. 30 Subnets
เฉลย ค. 14 Subnets

25. จำนวน Subnet ของการ Mark 6 Bit Class B เท่ากับเท่าใด
ก. 14 Subnets
ข. 30 Subnets
ค. 62 Subnets
ง. 126 Subnets
เฉลย ค. 62 Subnets

26.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.224
ก. 28 Hosts
ข. 32 Hosts
ค. 30 Hosts
ง. 62 Hosts
เฉลย ค. 30 Hosts

27.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.192
ก. 28 Hosts
ข. 32 Hosts
ค. 30 Hosts
ง. 62 Hosts
เฉลย ง. 62 Hosts

28.จำนวนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.192
ก. 4094 Hosts
ข. 521 Hosts
ค. 1024 Hosts
ง. 128 Hosts
เฉลย ก. 4094 Hosts

29.ต้องการใช้ Subnet จำนวน 29 Subnet จะยืม (Mark) จาก คลาส A เท่าไดไหร่
ก. 3
ข. 4
ค. 5
ง. 6
เฉลย ค. 5

30.จากข้อ 29 Subnet Mask ที่แสดงคือ
ก. 255.192.0.0
ข. 255.255.255.248
ค. 255.255.248.0
ง. 255.248.0.0
เฉลย ง. 255.248.0.0

31.ข้อไดไม่ใช่ Sub network ID สำหรับเครื่องที่ใช้ IP Address หมายเลข 200.10.5.68/28
ก. 200.10.5.56
ข. 200.10.5.32
ค. 200.10.5.64
ง. 200.10.5.0

32.ข้อใดคือ Network Address ของหมายเลข172.16.0.0/19
ก. 8 Subnets ; 2,046 Hosts
ข. 8 Subnets ; 8,198 Hosts
ค. 7 Subnets ; 30 Hosts
ง. 7 Subnets ; 62 Hosts

33.ข้อใดคือ Subnet ของ IP address 172.16.210.0/22
ก. 172.16.208.0
ข. 172.16.254.0
ค. 172.16.107.0
ง. 172.16.254.192

34.ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 201.100.5.68/28
ก. 201.100.5.31
ข. 201.100.5.64
ค. 201.100.5.65
ง. 201.100.5.1

35. ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 172.16.11.1/25
ก. 172.16.112.0
ข. 172.16.0.0
ค. 17.16.96.0
ง. 172.15.255.0

กำหนด IP Address 192.168.1.1/28 จงคำนวณหา Sub network ID IP Usage และ Broadcast แลัวตอบคำถาม
36.หมายเลยใด ไม่สามารถใช้ได้
ก. 192.168.1.13
ข. 192.158.1.226
ค. 193.168.1.31
ง. 192.168.1.253

37.หมายาเลยใด เป็น Sub network Id ของ Subnet ที่ 00001000
ก. 192.168.1.13
ข. 192.168.1.226
ค. 192.168.1.31
ง. 192.168.1.253

38.หมายเลขใด เป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 000010000
ก. 192.168.1.13
ข. 192.168.1.16
ค. 192.168.1.31
ง. 192.168.1.32

39.หมายเลขใด เป็น Sub network ID ของ Subnets ที่ 001100000
ก. 192.168.1.63
ข. 192.168.1.45
ค. 192.168.1.48
ง. 192.168.1.111

40.หมายเลขใด เป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 001100000
ก. 192.168.1.63
ข. 192.168.1.45
ค. 192.168.1.48
ง. 192.168.1.100

41.หมายเลขใด เป็น IP Usage ของ Subnet ที่ 001100000
ก. 192.168.1.50
ข. 192.168.1.96
ค. 192.168.1.81
ง. 192.168.1.10

กำหนด IP Address 102.168.1.1/27 จงคำนวณหา Sub network Id IP Usage และ Broadcast แล้วตอบคำถาม

42. ข้อใดไม่เข้าพวก
ก. 192.168.1.1
ข. 192.16.1.95
ค. 192.168.33
ง. 192.168.1.124

43.ข้อใดไม่เข้าพวก
ก. 192.168.1.0
ข. 192.168.1.06
ค. 192.168.32
ง. 192.168.1.159

44.หมายเลขใด ไม่สามารถใช้ได้
ก. 192.168.1.193
ข. 192.168.1.161
ค. 192.16.1.127
ง. 192.168.1.60

45.ข้อใดคือ IP Usage ของ Dub network 192.168.1.96
ก. 192.168.1.0 -192.168.1.31
ข. 192.168.1.65 - 192.168.1.04
ค. 192.168.1.97 – 192.168.1.126
ง. 192.168.1.95 – 192.168.1.127

จงใช้ภาพด้านล่างตอบคำถามข้อ 46-50กำหนดให้ใช้ IP Private Network Class C 192.168.1.1NET_A :13 HostsNET_B :50 HostsNET_C :2 HostsNET_D :25 Hosts

46.Net_D ควรใช้ / อะไร
ก. /26
ข. /27
ค. /28
ง. /29

47.จาก Network ข้างต้น ใช้ Sub net mask อะไรจึงจะรองรับได้ทุก Network
ก. /26
ข. /27
ค. /28
ง. /29

48.Net_C มีหมายเลย Sub net mask อะไร
ก. 255.255.255.192
ข. 255.255.255.254
ค. 255.255.255.248
ง. 255.266.255.252

49.Net_B มีหมายเลข Subnet Mask อะไร
ก. 255.255.255.192
ข. 255.255.255.254
ค. 255.255.255.248
ง. 255.255.2555.252

50.หากใช้ /26 หมายเลข Sub network IP ของ Network สุดท้ายคือ
ก. 102.168.1.128
ข. 192.168.1.192
ค. 192.168.1.191
ง. 192.168.1.255

51.จากภาพด้านบนเกิดจากการใช้คำสั่งใด
ก. Arq –a
ข. Netstat
ค. Nslookup
ง. Tracert

52. จากภาพด้านบนเกิดจากการใช้คำสั่งใด
ก. Arp-a
ข. Netstat
ค. Nslookup
ง. Ipconfig/all

53.จากภาพด้านบนเกิดจากการใช้คำสั่งใด
ก. Tracert-a
ข. Netstat
ค. Nslookup
ง. Ipconfig/all

54.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู computer Name
ก. Ipconfig
ข. Nslookup
ค. Nostname
ง. Tracert

55.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู IP และ Subnet Mask คือ
ก. IPconfig
ข. Nslookup
ค. Hostname
ง. Tracert

56.การตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางและปลายทางคือ
ก. Ipconfig
ข. Nslookup
ค. Hostname
ง. Tracert

57.Destination Host Unreachable หมายความว่า
ก. ติดตั้ง IP ที่ Host ไม่ถูกต้อง
ข. ติดตั้ง Card LAN ไม่ถูกต้อง
ค. Host ไม่ถูกเชื่อมต่อกับเครื่องที่ PING
ง. HOST ไม่ถูกเชื่อมต่อกับระบบ

58.Tracert คือ
ก. การหาเส้นทางการเชื่อมต่อจากต้นทางไปปลายทาง
ข. การหาเส้นทางการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
ค. การตรวจสอบสถานะของระบบเครือข่าย
ง. ตรวจสอบความผิดพลาดของ Packet

59.การเข้าหน้า CMD ทำอย่างไรในครั้งแรก
ก. Start > run > cmd
ข. Start > run > connand
ค. Start > allprogram > accessories> command prompt
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ

60.ARP(Address Resolution Protocol) หรือหมายเลข LAN Card มีกี่ไบต์
ก. 6 Bit
ข. 16 Bit
ค. 8 Bit
ง. 32 Bit

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Router Protocol

Router Protocol
Routing Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย
ประเภทต่างๆของ Routing Algorithmการแบ่งประเภทของ routing algorithm ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภท interior routing protocol และ exterior routing protocol ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ก็จะสามารถแยกเป็นย่อยๆได้อีก เช่น
• Static routing, Dynamic రౌటింగ్
• Intradomain రౌటింగ్
, Interdomain రౌటింగ్
• Flat రౌటింగ్
, Hierachical రౌటింగ్
• Centralized రౌటింగ్
, Distributed రౌటింగ్
• Single path రౌటింగ్
, Multipath రౌటింగ్
• Host-intelligent రౌటింగ్
, Router-intelligent రౌటింగ్
• Link-state, Distance vector రౌటింగ్
• Policy రౌటింగ్
ในที่นี้จะขออธิบายบางประเภทเท่านั้น
Interior Routing Protocolในการใช้งาน Interior routing protocol มักจะใช้กับเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครือข่ายขนาดย่ยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่ โดยใช้เป็นเส้นทางการติดต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในกลุ่มสมาชิกด้วยกัน เช่น บริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) จะมีการเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆ คือเครือข่ายของลูกค้าแบบองค์กรที่องค์กรที่เชื่อมต่อเครือข่ายของตนเข้ากับเครือข่ายของ ISP ทำให้เครือข่ายของลูกค้าอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ในการติดต่อส่งผ่านข้อมูลกัน อุปกรณ์ Router จะแลกเปลี่ยนข้อมูล routing table เพื่อให้ทราบว่าเส้นทางใดจะเป็นเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ตัง Router ของบริษัท ISP จะทำหน้าที่เป็น Router หลักอยู่ในระบบที่เรียกว่า Autonomous System (AS) ที่จะเชื่อมต่อออกไปยังระบบภายนอกและออกสู่อินเตอร์เน็ตต่อไป เรียกได้ว่า Autonomous System นี้เป็นระบบที่ใช้เชื่อมโยระหว่าง Router หลักในแต่ละ Autonomous System ด้วยกันRouter หลักดังกล่าวของ ISP จะมีหมายเลขประจำตัวหรือหมายเลข Autonomous System ที่ไม่ซ้ำกับเรียกว่า AS number ซึ่งสามารถขอหมายเลขนี้ได้ที่ Internic เช่นกัน โดย Router หลักต้องมี AS number จะต้องเป็น Router ที่เชื่อมต่อระหว่าง Router หลักด้วยกันเท่านั้น และมี routing protocol บางชนิดใช้งานค่าหมายเลข AS number นี้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานะของเครือข่ายและข้อมูล routing table ด้วย ในกลไกการระบุเส้นทางประเภท Interior routing protocol ยังมีการแยกย่อยลงไปได้อีกหลายแบบเช่น แบบ Distance-Vector routing protocol และแบบ Link-state routing protocol
Link-state Routing Protocolลักษณะกลไกการทำงานแบบ Link-state routing protocol คือตัว Router จะ Broadcast ข้อมูลการเชื่อมต่อของเครือข่ายตนเองไปให้ Router อื่นๆทราบ ข้อมูลนี้เรียกว่า Link-state ซึ่งเกิดจากการคำนวณ Router ที่จะคำนวณค่าในการเชื่อมต่อโดยพิจารณา Router ของตนเองเป็นหลักในการสร้าง routing table ขึ้นมา ดังนั้นข้อมูล Link-state ที่ส่งออกไปในเครือข่ายของแต่ละ Router จะเป็นข้อมูลที่บอกว่า Router นั้นๆมีการเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายใดอย่างไร และเส้นทางการส่งที่ดีที่สุดของตนเองเป็นอย่างไร โดยไม่สนใจ Router อื่น และกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในเครือข่าย เช่น มีบางวงจรเชื่อมโยงล่มไปที่จะมีการส่งข้อมูลเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปให้ ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้กลไกแบบ Link-state ได้แก่ โปรโตคอล OSPF (Open Shortest Path First) สำหรับ Interior routing protocol นี้บางแห่งก็เรียกว่า Intradomain routing protocol
Distance-vector Routing Protocolลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก ดังรูป
จากรูป Router A จะทราบว่าถ้าต้องการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังเครื่องที่อยู่ใน Network B แล้วนั้น ข้อมูลจะข้าม Router ไป 1 ครั้ง หรือเรียกว่า 1 hop ในขณะที่ส่งข้อมูลไปยังเครื่องใน Network C ข้อมูลจะต้องข้ามเครือข่ายผ่าน Router A ไปยัง Router B เสียก่อน ทำให้การเดินทางของข้อมูลผ่านเป็น 2 hop อย่างไรก็ตามที่ Router B จะมองเห็น Network B และ Network C อยู่ห่างออกไปโดยการส่งข้อมูล 1 hop และ Network A เป็น2 hop ดังนั้น Router A และ Router B จะมองเห็นภาพของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่แตกต่างกันเป็นตารางข้อมูล routing table ของตนเอง จากรูปการส่งข้อมูลตามลักษณะของ Distance-vector routing protocol จะเลือกหาเส้นทางที่ดีที่สุดและมีการคำนวณตาม routing algorithm เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งมักจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดและมีจำนวน hop น้อยกว่า โดยอุปกรณ์ Router ที่เชื่อมต่อกันมักจะมีการปรับปรุงข้อมูลใน routing table อยู่เป็นระยะๆ ด้วยการ Broadcast ข้อมูลทั้งหมดใน routing table ไปในเครือข่ายตามระยะเวลาที่ตั้งเอาไว้การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น
Exterior Routing Protocolเมื่อเครือข่ายภายใน เช่น เครือข่ายของ ISP ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายหลักภายนอกและออกสู่อินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการเชื่อมต่อกันแบบ Exterior Routing Protocol และอาศัยหมายเลย AS number ในการติดต่อกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายเพื่อให้ Router หลักๆในอินเตอร์เน็ตเรียนรู้เส้นทางในการติดต่อส่งข้อมูล จะถือเสมือนว่าเครือข่ายหลักและเครือข่ายบริวารนั้นเป็นหนึ่งเครือข่าย และติดต่อกันเช่นนี้ในแต่ละเครือข่ายที่มีหมายเลข AS ประจำตัว เพราะถ้าทั้งเครือข่ายหลักและเครือข่ายบริวารจะต้องส่งข้อมูล routing table ออกไปให้กับ Router ทุกตัวในอินเตอร์เน็ตแล้ว ก็จะทำให้ช่องสัญญาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอและเป็นที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เครือข่ายติดขัดได้ในบางแห่งก็เรียกโปรโตคอล Exterior Routing Protocol ว่า Interdomain Routing Protocol ซึ่งมีลักษณะการใช้งานตามรูป
จะเห็นว่าเครือข่ายหลักและเครือข่ายบริวารเชื่อมโยงกันอยู่ โดยในที่นี้เครือข่ายหลักอาจจะเป็นบริษัท ISP ที่มี Router หลักคือ Router 1 เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายบริวารของตน การติดต่อภายในก็จะใช้โปรโตคอลแบบ Interior Routing Protocol เช่น โปรโตคอล OSPF ก็ได้ และ Router1 ทำหน้าที่เป็น Intradomain Router ที่จะมีข้อมูลเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลและรู้จัก Router ตัวอื่นๆภายในเครือข่ายของตน มีการกำหนด AS number ให้กับ Router หลักและเชื่อมต่ออกไปยังเครือข่าย หลักอื่นๆ ในที่นี้อาจจะเป็น back bone ของอินเตอร์เน็ตที่อยู่ต่างประเทศก็ได้ โดยด้านรับก็จะต้องมี Router หลักติดต่อรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกัน เพื่อทำหน้าที่เรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูล routing table โดยใช้โปรโตคอลเดียวกันระหว่างระบบ AS ด้วยกัน ตัวอย่างของ Exterior Routing Protocol ได้แก่ โปรโตคอล BGP (Border Gateway Protocol)จากรูปเราจะเห็นว่า Router 2 และ Router 5 เป็น Router ใน Intradomain ส่วน Router1 เป็น Router หลัก มีการกำหนดค่าหมายเลข AS เป็น AS4000 เชื่อมต่อกับ Router x ที่มี AS number เป็น 4837 ตัวอย่างการใช้งานเชื่อมต่อแบบ Exterior Routing Protocol ของบริษัท ISP ในประเทศไทยจะเป็นดังรูปข้างล่าง ซึ่งบริษัท ISP จะเชื่อมต่อวงจรผ่านบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในต่างประเทศอีกทีหนึ่งโดยใช้ Router หลักเชื่อมต่อกัน

เร้าเตอร์ ( Router)

เร้าเตอร์ ( Router)

เร้าเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน แต่ใช้สื่อส่งข้อมูลหรือสายส่งต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ UTP เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายข้อมูลแบบ coaxial cable ได้
เร้าเตอร์ทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือโหนดหนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำการรับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไปจากเดิม เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นเราจึงอาจใช้เราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกันได้ด้วย และจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็นโหนด ๆ หนึ่งใน LAN ทำให้เราเตอร์สามารถทำงานอื่น ๆ อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อ หรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริดจ์กับเราเตอร์คือ เราเตอร์มีการทำงานที่สูงกว่าคือ ในระดับชั้นที่ 3 ของ โมเดล OSI นั่นคือคือ Network Layer โดยจะใช้ logical address หรือ Network Layer address ซึ่งเป็นที่อยู่ซึ่งตั้งโดยซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้แต่ละเครื่องจะตั้งขึ้นให้โปรโตคอลในระดับ Network Layer รู้จัก
หน้าที่หลักของเราเตอร์คือ การหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น โดยในแต่ละเครือข่ายจะมีรูป แบบของ packet ที่แตกต่างกันตามโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบน (ตั้งแต่เลเยอร์ที่ 3 ขึ้นไป) เช่น IP, IPX หรือ AppleTalk

เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของเลเยอร์ที่ 2 เมื่อเราเตอร์ได้รับข้อมูลก็จะตรวจดูใน packet นี้เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด ซึ่งเราเตอร์จะเข้าใจโปรโตคอลต่าง ๆ แล้ว จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง routing table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดต่อจึงจะถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น packet ตามรูปแบบของเลเยอร์ที่ 2 อีกครั้งเพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายถัดไป
ข้อดีของการใช้เราเตอร์
1. ในการใช้เราเตอร์เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปริมาณการส่งข้อมูลของแต่ละเครือข่ายย่อยจะแยกจากกันโดยเด็ดขาด นั่นคือปริมาณการไหลเวียนของข้อมูลในเครือข่าย LAN หนึ่งจะไม่รบกวนการไหลเวียนข้อมูลของอีกเครือข่าย LAN หนึ่ง
2. มีความคล่องตัวในการทำงานสูง เนื่องจากสามารถทำงานร่วมกับโทโพโลยีได้ทุกชนิด
3. สามารถกำหนดความสำคัญในการส่งข้อมูลได้ เช่น สามารถกำหนดได้ว่าหากข้อมูลที่ส่งไปอยู่ในรูปแบบของโปรโตคอลที่มีลำดับความสำคัญสูง ก็สามารถลัดคิวส่งออกไปได้ก่อน
4. การปิดกั้นเครือข่าย หรือแยกเครือข่ายออกจากเครือข่ายที่ไม่ต้องการจะติดต่อด้วย ซึ่งเป็นการรักษาความปลอดภัยวิธีหนึ่ง
5. การเลือกเส้นทางในการที่จะส่งข้อมูล สามารถใช้เราเตอร์ช่วยในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
ข้อเสีย
1. เราเตอร์ทำงานภายใต้ OSI เท่านั้น และจะไม่ติดต่อหรือส่งข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลที่ไม่รู้จัก


ข้อสอบ เรื่องเร้าเตอร์

ข้อสอบ
เร้าเตอร์ (router) จำนวน 20ข้อ
ข้อสอบเร้าเตอร์ อัตนัย (จำนวน 10 ข้อ)
1.จงบอกความหมายของ ரௌடேர்
เฉลย เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มากโดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่าย
2.อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้ง LAN และ WAN ประกอบด้วยอะไร
เฉลย 1.บริดจ์ (Bridge) 2.เราเตอร์ (Router) 3.สวิตช์ (Switch)
3. ADSL Router คืออุปกรณ์อะไร
เฉลย อุปกรณ์เชื่อมต่อ ADSL มีคุณสมบัติในการแชร์อินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เราเตอร์มาพร้อมกับพอร์ต RJ45 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่ายเช่น HUB หรือ SWITCH
4.หน้าที่ของเราเตอร์คืออะไร
เฉลย หน้าที่ของเราเตอร์คือ จัดแบ่งเครือข่ายและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อนำส่งแพ็กเก็ต เราเตอร์จะป้องกันการบรอดคาสต์แพ็กเก็ตจากเครือข่ายหนึ่งไม่ให้ข้ามมายังอีกเครือข่ายหนึ่ง
5.เมื่อเราเตอร์รับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางแล้ว เราเตอร์จะนำม เปรียบเทียบกับอะไรและส่งต่อไปที่ไหน
เฉลย เมื่อเราเตอร์รับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางแล้ว จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุดก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WAN ได้
6.สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)ทำหน้าที่อะไร
เฉลย สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต
7.ข้อดีของไฟร์วอลล์ เราเตอร์คืออะไร
เฉลย มีประสิทธิภาพสูงมีจำนวนอินเตอร์เฟสมาก
8.เราเตอร์มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับอะไร
เฉลย สวิตช์ (Switch)
9. Router อยู่ใน Layer (OSI Protocol Stack)อะไร
เฉลย Network Layer
10.เมื่อต้องการดูค่า routing ควรใช้คำสั่งอะไร
เฉลย show ip ரூட்

ข้อสอบ เราเตอร์ ( Router) (ปรนัย10 ข้อ)
1. หน้าที่หลักของเราเตอร์คือ
ก. การหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูล
ข.การส่งข้อมูล
ค. การรับข้อมูล
ง. ถูกทั้งข้อ ก และข้อ ข
เฉลย ก. การหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูล
คำอธิบาย เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน แต่ใช้สื่อส่งข้อมูลหรือสายส่งต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ UTP เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายข้อมูลแบบ coaxial cable ได้ เราเตอร์ทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือโหนดหนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำการรับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไปจากเดิม เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นเราจึงอาจใช้เราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกันได้ด้วย และจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็นโหนด ๆ หนึ่งใน LAN ทำให้เราเตอร์สามารถทำงานอื่น ๆ อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อ หรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย
2. ข้อดีของการใช้เราเตอร์ คือ
ก. ในการใช้เราเตอร์เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปริมาณการส่งข้อมูลของแต่ละเครือข่ายย่อยจะแยกจากกันโดยเด็ดขาด
ข.มีความคล่องตัว
ค.การปิดกั้นเครือข่าย
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ง. ถูกทุกข้อ
คำอธิบาย ข้อดีของเร้าเตอร์
1.ในการใช้เราเตอร์เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปริมาณการส่งข้อมูลของแต่ละเครือข่ายย่อยจะแยกจากกันโดยเด็ดขาด
2.มีความคล่องตัว
3.การปิดกั้นเครือข่าย
3. Router ทำหน้าที่คล้ายกับอุปกรณ์ใด
ก. ฮับ
ข.โมเด็ม
ค.บริดจ์
ง.คอมพิวเตอร์
เฉลย ค.บริดจ์
คำอธิบาย เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น .
4. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย
ก.บริดจ์ (Bridge)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค.สวิตช์ (Switch)
ง.แลนด์ (Lan)
เฉลย ง.แลนด์ (Lan)
คำอธิบาย ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมด จึงมีการแบ่งแยกเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เรียกว่า LAN (Local Area Network) และการเชื่อมโยงระยะไกล ที่เรียกว่า WAN (Wide Area Network)
เครือข่าย LAN เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน สามารถ ดูแลได้เอง การเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบดังนี้
เครือข่าย LAN แบบอีเทอร์เน็ต มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 Mbps. มีพื้นฐานรูปแบบการเชื่อมโยงร่วมกันแบบบัส คือ ทุกอุปกรณ์จะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียว ดังนั้นการรับส่งต้องมีการจัดการไม่ให้รับส่งพร้อมกันเกินกว่าหนึ่งคู่ ขบวนการรับส่งข้อมูลจึงถูกกำหนดขึ้น โดยให้อุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลตรวจสอบว่ามีข้อมูลใดวิ่งอยู่บนสายหรือไม่ หากไม่มีจึงส่งได้ และถ้ามีการชนกันของข้อมูลบนสายก็จะส่งใหม่ การหลีกเลี่ยงการชนกันจึงกระทำได้ในเครือข่ายระยะใกล้
เครือข่าย LAN แบบโทเก็นริง มีความเร็ว 16 Mbps. เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนโดยแพ็กเก็ตข้อมูลจะวิ่งวนในทิศทางใดทางหนึ่ง ถ้ามีแอดเดรสปลายทางเป็นของใคร อุปกรณ์นั้นจะรับข้อมูลไป การจัดการรับส่งข้อมูลในวงแหวนจึงเป็นไปอย่างมีระเบียบ
ครือข่าย LAN ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากัน แต่ทุกตัวจะมีแอดเดรสประจำ และแอดเดรสเหล่านี้จะซ้ำกันไม่ได้ โดยปกติผู้ผลิตอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายได้กำหนดแอดเดรสเหล่านี้มาให้แล้ว
เพื่อจะให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างมาตรฐานกันได้นั้น มีวิธีการพัฒนาให้ระบบสามารถนำแพ็กเก็ต เฉพาะของเครือข่ายมาใส่ในแพ็กเก็ตกลางที่เชื่อมโยงระหว่างกันได้ เช่น TCP/IP ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการเชื่อมเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน เครือข่ายอีเทอร์เน็ตมีแพ็กเก็ตเฉพาะเมื่อจะส่งออก ก็นำแพ็กเก็ตเฉพาะมาเปลี่ยนถ่ายลงในแพ็กเก็ต TCP/IP แล้วส่งต่อ.. แพ็กเก็ต TCP/IP จึงเป็นแพ็กเก็ตกลางที่พร้อมรับแพ็กเก็ตย่อยอื่นได้ ดังนั้นการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย เช่น อีเทอร์เน็ตในปัจจุบันจึงเกิดขึ้น
5. ระดับชั้น Network ของเราเตอร์มีกี่ชั้น
ก.5 ชั้น
ข.6 ชั้น
ค.7 ชั้น
ง.8 ชั้น
เฉลย ค.7 ชั้น
คำอธิบาย จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐาน OSI นี้ขึ้นมาก็เพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐานของเครือข่ายและกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ชั้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดมีดังต่อไปนี้
1ไม่แบ่งโครงสร้างออกในแต่ละชั้นจนมากเกินไป
2แต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
3หน้าที่การทำงานคล้ายกันจะถูกจัดให้อยู่ในชั้นเดียวกัน
4เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
5กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ เผื่อว่ามีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตาม
6มีการกำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
7มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละชั้น

6. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียอีกอย่างว่าอะไร
ก.เอทีเอ็มสวิตช์(ATM Switch)
ข.เซลสวิตช์" (Cell Switch)
ค.เฟรมรีเลย์" (Frame Relay)
ง.สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล(Data Switched Packet)
เฉลย ง.สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล(Data Switched Packet)
คำอธิบาย เมื่อต้องการเชื่อมเครือข่ายย่อยหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบที่ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เชื่อมโยงถึงกัน โดยทั่วไปเรามักใช้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นชุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า แพ็กเก็ต ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตสามารถเคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางได้ โดยผ่านอุปกรณ์เลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางสามารถเลือกผ่านทั้งทางด้านเครือข่ายแลนและแวน
7. Router ทำหน้าที่อะไร
ก.ใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน
ข.หน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน
ค.ส่งข้อมูล
ง.เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ
เฉลย ข.หน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน
คำอธิบายคำอธิบาย เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน แต่ใช้สื่อส่งข้อมูลหรือสายส่งต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ UTP เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายข้อมูลแบบ coaxial cable ได้ เราเตอร์ทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือโหนดหนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำการรับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไปจากเดิม เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นเราจึงอาจใช้เราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกันได้ด้วย และจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็นโหนด ๆ หนึ่งใน LAN ทำให้เราเตอร์สามารถทำงานอื่น ๆ อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการ

8. ในอินเทอร์เน็ตมักเรียกเราเตอร์ว่าอะไร
ก. ไอพีเราเตอร์ (IP router)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค. สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)
ง. สวิตช์ (Switch)
เฉลย ก. ไอพีเราเตอร์ (IP router)
9. เส้นการเชื่อมโยงของระหว่างเครือข่าย มีชื่อเรียกว่า
ก.Router Table
ข.Router
ค.Bridge
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก.Router Table
10.อินเทอร์เน็ตมักเรียกเราเตอร์ว่า อะไร
ก. IP Router
ข.IPV
ค.IPV4
ง. IP அட்ரஸ்
เฉลย ก. IP Router

ETHERNET

ETHERNET
อัตราความเร็ว 10 Mbpsอัตราความเร็ว 100 Mbpsอัตราความเร็ว 1000 Mbpsอัตราความเร็ว 10 Gbpsบางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802।3ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802।3uซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802।3z/802।3abซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802।3aeซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้นETHERNETมาตรฐาน การเชื่อมต่ออัตราความเร็ว การรับส่งข้อมูลระยะความยาว ในการรับส่งข้อมูลTopology ที่ใช้สายที่ใช้ Cableชื่อเรียก10base210 Mbps185 - 200 เมตรBUSThin CoaxialThin Ethernet หรือ Cheapernet10base510 Mbps500 เมตรThick CoaxialThick Ethernet10baseT10 Mbps100 เมตรSTARTwisted Pair (UTP)10baseF10 Mbps2000 เมตรFiberOptic100baseT100 Mbps......... เมตรTwisted Pair (UTP)Fast Ethernet

IEEE 802।1 การบริหารจัดการระบบเครือข่าย
IEEE 802।2 ถูกออกแบบใน LLC ไม่ต้องการให้เครื่องรู้จักกับ MAC sub layer กับ physical
IEEE 802।4 มาตรฐาน
IEEE 802।4 เป็นมาตรฐานกำหนดโปรโตคอลสำหรับเลเยอร์ชั้น மச
IEEE 802।3 สำหรับเป็น โปรโตคอลมาตราฐานเครือข่าย EtherNet ที่มีอัตราเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps
IEEE 802.5 เครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบ Ring
IEEE 802.6 กำหนดมาตรฐานของ MAN ซึ่งข้อมูลในระบบเครือข่ายถูกออกแบบมาให้ใช้งานในระดับเขต และเมือง
IEEE 802.7 ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบ ப்ரோஅட்பாந்து
IEEE 802.8 ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วนำแสง
IEEE 802.9 ใช้กำหนดการรวมเสียงและข้อมูลบนระบบเครือข่ายรองรับ
IEEE 802.10 ใช้กำหนดความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายIEEE 802.11 มาตรฐาน IEEE 802.11 และเป็นเทคโนโลยีสำหรับ வலன்
IEEE802.12 ใช้กำหนดลำดับความสำคัญของความต้องการเข้าไปใช้งานระบบเครือข่าย
IEEE 802.14 ใช้กำหนดมาตรฐานของสาย மோடெம்
IEEE 802.15 ใช้กำหนดพื้นที่ของเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล
EEE 802.16 ใช้กำหนดมาตรฐานของ Broadband แบบไร้สาย หรือ WiMAX

IEEE 802.2
เป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมที่IEEE สร้างขึ้นในทุกมาตรฐาน 802 คือการแยกระดับชั้น Data link เป็น2ส่วนย่อย คื0 LLC และ MAC- LLC (Logical Link Control) เป็นส่วนเชื่อมต่อกับชั้น Networkอินเทอร์เฟสของ LLC ในเครือข่ายแต่ละชนิด(802.3,802.4,802.5)จะมีรูปแบบเชื่อมต่อกับชั้นNetwork เหมือนกันในการอินเทอร์เฟสกับระดับชั้นNetwork นั้น ระดับชั้น LLC จะให้บริการแก่ระดบชั้น Network 3รูปแบบคือการบริการแบบ Datagram ที่ไม่รับประกันความเชื่อถือของการส่งข้อมูลการบริการแบบDatagram ท่มีการตอบรับจากฝั่งรับ และการบริการแบบ Connection-orientedส่วน MAC (Media Access Control) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับชั้น Physical ทำหน้าที่ จัดการ access เข้าไปยัง Physical Layer แบ่งเขตให้กับเฟรมข้อมูลและควมคุมความผิดพลาด

IEEE 802.3
มาตรฐาน 802.3 เริ่มต้นมาจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100สถานีภายใน โดยมีความยาวของเครือข่ายถึง 1กิโลเมตร และอัตราส่งข้อมูลได้ถึง 2.94Mbps ระบบนี้เรียกว่า Ethernet ต่อมา บริษัท Xerox ,Dec และ Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐาน Ethernet ซึ่งมีอัตราส่ง 10 Mbps ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นพื้นฐานของIEEE 802.3 IEEE ได้กำหนดมาตรฐาน Ethernet ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที ไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณ ดังตาราง
ชนิด

สายเคเบิล
ความยาวสูงสุดเซกเมนต์
จำนวนโหนดต่อเซกเมนต์
ข้อดี
10Base5(Thick Ethernet )
สายโคแอกเชียลแบบหนา
500 m
100
ใช้เป็นเครือข่ายกระดูกสันหลังภายในตึก
10Base2(Thin Ethenet)
สายโคแอกเชียลแบบบาง
200m
30
ระบบที่ถุกที่สุด
10Base-T
Twisted pair
100m
1024
ง่ายต่อการดูแลรักษา
10Base-F
Fiber optics
2000m
1024
ใช้เชื่องโยงระหว่างตึกส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ทความเร็ว 10เมกะบิตต่อวินาที ที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 100Base-TX และ 100Base-FX สำหรับอีเทอร์เทความเร็วสูงแบบกิกะบิตต่อวินาทีเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ทในปัจจุนได้แก่ 1000Base-T 1000Base-LX และ 1000Base-SX เป็นต้นอีเทอร์เน็ทที่ใช้ใยแก้วนำแสงมีหลายมาตรฐานย่อยเช่น 10Base-FL (Fiber link) , 10Base-FB (Fiber backbone) และ 10 Base-FP (Passive Fiber)อีเทอร์เน็ทจะใช้โปรโตคอล CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าใช้สายสัญญาณ ในเครือข่ายอีเทอร์เน็ทมีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทำงานล่าช้า เพราะว่าแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลและเกิดการชนกันตลอดเวลาโดยไม่สามารถ กำหนดได้ว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อใด อีเทอร์เน็ทจึงไม่เหมาะสมกับการใช้งานในระบบเวลาจริง

IEEE 802.4
เมื่อมีการคิดค้นแลนแบบ 802.3ก็มีการใช้แลนแบบนี้มากในสำนักงาน แต่สำหรับโรงงานอัตโนมัติ ไม่อาจใช้แลนแบบนี้ได้เนื่องจากแลน 802.3 ไม่อาจรับประกันได้ว่าในขณะเวลาที่องการส่งข้อมูลนั้นสถานีจะสามารถรับส่งข้มูลได้หรือไม่ เช่น ในการประกอบรถยนต์ เมื่อรถยนต์มาถึงหุ่นยนต์ประกอบรถยนต์แล้วหุนต้องพร้อมที่จะทำงานได้ ดังนั้นจึงมีการคิค้นวิธีการใช้ข้อมูลในสายส่ง ซึ่งแต่ละบอร์ดควมคุมจะสามารถรู้ว่าเวลานานที่สุ ดที่บอร์ดควมคุมจะต้องรอก่อนการส่งข้อมูลได้เป็นเท่าไรIEEE802.4 หรือ โทเค็นบัส มีTopology แบบ Bus เช่นเดียวกับ IEEE802.3 แมีข้อกำหนดการใช้สายสื่อสารโดยใช้ Token ทำหน้าที่เป็นเฟรมสัญญาณกำหนดจังหวะให้สถานีเข้าใช้สายสื่อสารToken จะถูกนำส่งจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งและวนกลับที่เดิมเป็นวงรอบ สถานีที่ได้รับ Token จะมีสิทธิใช้สายสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลได้ สายสื่อสารในToken Bus มัก ใช้สายโคแอ็กเชียล และมีความเร้วหลายระดับคือ 1,5หรือ10 Mbpsการใช้Token ช่วยให้สถานีไม่ต้องแย่งยึดช่องสัญญาณเหมือนใน IEEE802.3 หากแต่ความซับซ้อนของโปรโตคอลทำให้ IEEE802.4 ไม่เป็นที่นิยมใช้

IEEE 802.5
IEEE802.5 หรือโทเค็นริง หรือมักเรียกว่าIBM Token Ring จัดเป็นเครือข่ายที่ใช้ Ring topology ด้วยสาย Twisted pair หรือ fiber optied อัตราการส่งข้อมูลของ Token Ring ที่ใช้โดยทั่วไปคือ4และ6 MbpsการทำงานของToken Ring จะมีเฟรมพิเศษเรียกว่า โทเค็นว่าง (free Token)วิ่งวนอยู่ในทิศทางเดียวการส่งข้อมูลจะต้องรอให้ Free Token เปลี่ยนมาเป็น เฟรมข้อมูลโดยใส่แฟล็กแสดงเฟรมข้อมูลและบรรจุ Address ชองสถานีต้นทางและสถานีปลายทางตลอดจนข้อมูลอื่นๆจากนั้นสถานีจึงปล่อยเฟรมนี้ออกไป ดังรูป เม่อสถานีปลายทางไว้และปล่อยเฟรมให้วนกลับมายั งสถานีส่ง สถานีส่งจะตรวจสอบและปล่อย Free Token คืนสู่เครือข่ายให้สถานีอื่นมีโอกาสส่งข้อมูล่อไป กลไกแบส่งผ่าน Token จัดอยู่ในประเภทประเมินเวลาได้ กล่าวคือสามารถคำนวณเวลาสูงสุดที่สถานีมีสิทธิใช้Tokenเพื่อส่งข้อมูลได้ Token Ring จึงเหมาะสำหรัระบบที่ต้องการความแน่นอนทางเวลาหรืองานแบบเวลาจริง

การเปรียบเทียบระหว่างแลน 802.2, 802.3, 802.4
โปรโตคอลของแลน 802.3 ไม่ยุ่งยากจึงไม่เหมาะสมกับการใช้ส่งข้อมุลสั้นๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่สถานีใดมีข้อมูลยาวๆที่ต้องการส่ง สถานีนั้นอาจจะยึดครองการใช้สาย ทำให้สถานีอื่นไม่สามารถส่งข้อมูลได้จึงไม่เหมาะกับงานควบคุมหรืองานที่ต้องส่งภายในเวลาที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นแลน802.3 ไม่สามารถกำหนดความเร่วด่วนของข้อมูลได้ ข้อเสียอีกอย่างของแลน802.3 คือการกำหนดความยาว ต่ำสุดของเฟรมข้อมูลที่64ไบต์สำหรับแลนแบบ Token Bus และToken Ringไม่เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลสั้นๆเนื่องจากต้องเสียเวลาโอเวอร์เฮดของการโทเค็น แต่ก้รับประกันว่าทุกๆสถานีมีดอกาสที่จะส่งข้อมูลได้และยังสามารถกำหนดความเร่งด่วนของข้อมูลได้ นอกจากนั้นในกรณีที่มีการส่งข้อมูลของสถานีต่างๆมาก ประสิทธิภาพของระบบจะเกือบ100% เนื่องจากจะมีข้อมูลวนอยู่ในเครือข่ายตลอดเวลา และแบบโทเค็นบัสเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วน(Assembly Line)ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นตรงและต้องการความสามารถในการส่งข้อมูลในเวลาที่กำหนดไว้ ข้อเสียของดทเค็นบัสคือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งสัญญาณทำงานแบบ Analog จึงทำให้ต้องใช้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาระบบ อีกทั้งดปรโตคอลที่ใช้ ค่อนข้างสลับซับซ้อน จึงทำให้อัตราการส่งข้อมูลของระบบไม่สูงนัก นอกจากนั้นแลนแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับการใช้เส้นใยแก้วนำแสงเป็นสื่อส่งข้อมูล ด้วยสาเหตุเหล่านี้จึงทำให้แลนแบบToken Busมีการใช้งานน้อย แลน Token Ring นั้นมีการส่งข้อมูลแบบจุดต่อจุดซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันมานานและเป็นการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ทำให้การดุแลรักษาทำได้ไม่ยากนัก สายเคเบิลที่ใช้อาจเป็นได้ทั้งสายคู่Twisted pair สายโคแอ็กเชียลหรือ Fiber optics แต่มาตรฐานกำหนดให้เป็นสายTwisted pair หุ้มฉนวนซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาถูก จึงทำให้การติดตั้งง่าย นอกจากนั้นการใช้ศูนย์รวมสายทำให้แลนแบบนี้สามารถตรวจหาสายเคเบิลตลอดจนอินเทอร์เฟสบอร์ดที่เสียหายได้โดยอัตโนมัติและสามารถผ่านเลยจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ ส่วนข้อเสียของโทเคนริงคือ จะต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่จัดการดุแลระบบ (Monitor station )ซึ่งหากสถานี นี้เกิดปัญหาจะทำให้การทำงานของแลนผิดพลาด

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บอกข้อดีและข้อเสียของระบบเครือข่ายTOPOGOLY พร้อมบอกข้อสอบ 5ข้อ

ข้อดี-ข้อเสีย
1.topologyรูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้นสัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย2. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
2.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี1. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย2. เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
4.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี1. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่2. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป3. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย1.ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้2. ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
5.โทโปโลยีแบบ( MESH) เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ข้อดี1. ของการเชื่อมต่อแบบเมซคือ การมีเส้นทางสำรองข้อมูล จึงได้มีการประยุกต์ใช้การเชื่อมต่อแบบเมซบางส่วน หรือการเชื่อมต่อแบบเมซที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ จะเชื่อมต่อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นหรือสำคัญเท่านั้นข้อเสีย2.ก็คือการเชื่อมต่อหลายจุด
แหล่งที่มาhttp://www.yupparaj.ac.th/
ข้อสอบ
1.Topology หมายถึงอะไร
1.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์
2.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายใน LAN
3.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายในอิเล็กทรอนิกส์
4.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ ภายในเครือข่าย
เฉลยคำถาม ข้อ 4. ถูกต้อง อธิบายโทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง
2.topology แบบใดที่ใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
1.star topology
2.ring topology
3.bus topology
4.mesh topology
เฉลยคำถาม ข้อ 1. ถูกต้อง อธิบายstar topologyประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์(Server)ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นและอุปกรณ์ที่เหลือ
3. topology แบบใดที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก
1.star topology
2.ring topology
3.bus topology
4.mesh topology
เฉลยคำถาม ข้อ 3. ถูกต้อง อธิบายโทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone)
4. topology แบบใดที่สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
1.star topology
2.ring topology
3.bus topology
4.mesh topology
เฉลยคำถาม ข้อ 4. ถูกต้อง อธิบายโทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง
5.โทโปโลยีแบบ Hybrid เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบใดเข้าด้วยกัน STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน
1.star topology ring topology
2.star topology bus topology
3.ring topology mesh topology
4.star topology ring topology bus topology
เฉลยคำถาม ข้อ 3. ถูกต้อง อธิบายโทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน
แบบทดสอบ
1.Bus มีรูปแบบเป็นอย่างไร
1.เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก
2.เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม
3.เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย
4.เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน
เฉลย ข้อ 4 Bus คือเป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
2.รูแบบของ topology เครือข่ายหลักๆมีกี่รูปแบบ
1. 3
2.4
3. 5
4.6
3.สายใยแก้วนำแสงแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
1. 6 ประเภท
2. 5 ประเภท
3. 4 ประเภท
4. 3 ประเภท
ตอบ ข้อ 4คำอธิบาย สายใยแก้วนำแสงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ Multimode Step Index ,
Multimode Graded Index , Single Model
4. แบบจำลอง OSI จะแบ่งการทำงานขอนระบบเครือข่ายออกเป็นกี่ชั้น
1. 4 ชั้น
2. 5 ชั้น
3. 6 ชั้น
4. 7 ชั้น
ตอบ ข้อ 4คำอธิบาย แบบจำลอง OSI จะแบ่งการทำงานออกเป็น 7ชั้น ได้แก่ Physical , Data Link ,Network , Transport , Session , Presentetion , Application
5.ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือเป็นข้อดีของโทโปโลยี่แบบใด
ก.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
ข.โทโปโลยีแบบ (Hybrid)
ค.โทโปโลยีแบบ (MESH)
ง. โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
เฉลยข้อ งคือ โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
6.แบบจำลอง OSI สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
1.เพื่อให้ระบบต่างๆสามารถสนับสนุนกันได้
2.เพื่อให้ระบบต่างๆสามารถสื่อสารกันได้
3.เพื่อให้ระบบต่างๆทำงานด้วยกันได้
4.ถูกเฉพาะข้อ 1 ,2
เฉลยอธิบายคำตอบคือ ข้อ 2มาตรฐานแบบจำลอง OSI นี้จัดทำขึ้นมานั้นก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ด้วยการใช้มาตรฐานการสื่อสารที่เป็นสากล
7.ลำดับชั้นบบแบบจำลอง OSI ประกอบกี่ลำดับชั้น
1. 4 ลำดับชั้น
2. 5ลำดับชั้น
3. 6ลำดับชั้น
4. 7ลำดับชั้น
เฉลยคำตอบคือ ข้อ 4 อธิบายแบบจำลอง OSI กรอบการทำงานเป็นลำดับชั้นหรือ รียกว่า “เลเยอร์ (Layer) แต่ละลำดับชั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันโดยแบบจำลอง OSI ได้มีการแบ่งออกเป็น 7 ลำดับชั้น
8.หน่วยข้อมูลลำดับชั้นเน็ตเวิร์ก(Network)เรียกว่าอะไร
1.แพ็กเก็ต (packet)
2.แครช (crash)
3.เร้าเตอร์ (router)
4.แพ็กกิง (packing)
เฉลยคำตอบคือ ข้อ 1 อธิบายหน่วยข้อมูลบนลำดับชั้นเน็ตเวิร์กนี้จะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า “แพ็กเก็ต (packet)”
9.รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topology) มีอยู่กี่รูปแบบ
1. 1รูปแบบ
2. 2รูปแบบ
3. 3รูปแบบ
4. 4รูปแบบ
เฉลยคำตอบคือ ข้อ 3 อธิบายรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topology) มีอยู่ทั้งหมดด้วยกันคือ 3 รูปแบบด้วยกันคือ 1)การเชื่อมต่อแบบบัส 2)การเชื่อมต่อแบบดาว 3) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน
10.ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของเครือข่าย (Network Computer)
1.เครื่องศูนย์บริการข้อมูล (Servers)
2.การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card)
3.ฮับและสวิตซ์ (Hubs and Switches)
4.เทอร์มิเนเตอร์ (Terminator)
เฉลยคำตอบคือ ข้อ 4 อธิบายเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ในการดูดซับสัญญาณมิให้สัญญาณที่วิ่งมายังปลายสายทั้งสองผั่งเกิดการสะท้อนกลับ (Reflection)
คำศัพท์ เกี่ยวกับระบบการสื่อสาร 30 คำ
1. Telegraphy โทรเลข
2. Telephone โทรศัพท์
3. Tetex โทรพิมพ์
4. Television โทรทัศน์
5. Radio วิทยุกระจายเสียง
6. Microwave ไมโครเวฟ
7. Satellite ดาวเทียม
8. Delivery การส่งมอบ
9. Accuracy ความถูกต้องแน่นอน
10. Timeliness ระยะเวลา
11. Message ข้อมูลข่าวสาร
12. Sender/source ผู้ส่งข้อมูล
13. Receiver/destination ผู้รับข้อมูล
14. Protocol โปรโตคอล
15. Analog signal สัญญาณแอนะล็อก
16. Digital signal สัญญาณดิจิตอล
17. Local Area Network : LAN เครือข่ายท้องถิ่น
18. Metropolitan Area Network : MAN เครือข่ายระดับเมือง
19. Wide Area Network : WAN เครือข่ายระดับประเทศ
20. Basic configuration การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย
21. Wireless telephone configuration โทรศัพท์ไรสาย
22. Local การสื่อสารบนพื้นที่เดียวกัน
23. Remode การสื่อสารระยะไกล
24. Data rate อัตราข้อมูล
25. Line configuration การเชื่อมต่อ
26. Transmission Mode ทิศทางการส่งผ่านข้อมูล
27. Framing เฟรมข้อมูล
28. Routing การเลือกเส้นทาง
29. tramission medium ตัวกลางในการส่งข้อมูล
30. Connection Release การยกเลิกการติดต่อ

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Windows Server 2003

Windows Server 2003 R2 ได้ขยายขอบเขตของระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม โดยการจัดเตรียมวิธีการที่ประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรองรับการบริหารและควบคุมการเรียกใช้ทรัพยากรแบบโลคอลและรีโมท แถมยังผสานการทำงานกับสภาพแวดล้อม Windows Server 2003 ที่มีอยู่เดิมได้โดยง่ายอีกด้วย Windows Server 2003 R2 สามารถทำงานเป็นเว็บแพลตฟอร์มที่ขยายระบบได้และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิม แถมยังรองรับการทำงานแนวทางใหม่ๆอาทิเช่นการบริหารเซิร์ฟเวอร์ตามสาขาที่ทำได้ง่ายขึ้น ระบบบริหารตัวตนและการเรียกใช้ระบบที่ดีกว่าเดิม รวมทั้งมีระบบบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นอีกด้วย บทความที่อยู่ในหน้านี้จะพูดถึงจุดเด่น คุณสมบัติใหม่ๆ และการปรับปรุงต่างๆที่เกิดขึ้นใน Windows Server 2003 R2จุดเด่นต่างๆ Windows Server 2003 R2ได้รับการพัฒนาโดยอิงกับระบบรักษาความปลอดภัย เสถียรภาพ และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมของ Windows Server 2003 Service Pack 1 (SP1) ดังนั้น Windows Server 2003 R2 จึงมีระบบเชื่อมต่อที่กว้างขวางยิ่งขึ้น แถมยังควบคุมทรัพยากรแบบโลคอลและรีโมทได้ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย องค์กรต่างๆจะได้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายที่ลดลง และประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้นผ่านทางระบบบริหารและระบบควบคุมทรัพยากรที่ดีขึ้นกว่าเดิมทั่วทั้งองค์กร ช่วยให้การบริหารเซิร์ฟเวอร์สาขาทำได้ง่ายขึ้น Windows Server 2003 R2 ช่วยให้คุณยังคงประสิทธิภาพ ความพร้อมในการให้บริการ และความสามารถในการเพิ่มผลผลิตของเซิร์ฟเวอร์สาขาแบบโลคอลเอาไว้ไปพร้อมๆกับหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโซลูชันเซิร์ฟเวอร์สาขาอาทิเช่น ข้อจำกัดเรื่องการสื่อสาร และความยุ่งยากในการบริหารเป็นต้นระบบบริหารตัวตนและการเรียกใช้ระบบที่ดีขึ้นกว่าเดิม Windows Server 2003 R2 มีบริการ Active Directory Federation Services ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลระบบแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารตัวตนโดยการทำให้องค์กรแลกเปลี่ยนข้อมูลตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ภายในขอบเขตการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดเอาไว้ นอกจากนั้น Windows Server 2003 R2 ยังเตรียมระบบปรับความสอดคล้องรหัสผ่านของยูนิกซ์ ซึ่งเป็นการผสานการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ที่ Windows และยูนิกซ์เข้าด้วยกัน โดยการทำให้ขั้นตอนการดูแลรหัสผ่านทำได้ง่ายขึ้นลดค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบจัดเก็บข้อมูล Windows Server 2003 R2 มีเครื่องมือรุ่นใหม่ๆที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้เรียกดูระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่ศูนย์กลางได้ สามารถวางแผน จัดสรร และดูแลระบบจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีระบบเฝ้าระวังและทำรายงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วยเว็บแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบ Windows Server 2003 R2 ช่วยให้ธุรกิจต่างๆขยายขอบเขตการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานของตนเองผ่านทางเว็บ พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและบริหารผ่านทางการทำงานของ Windows Server 2003 SP1, x64 Editions, Windows SharePoint Services, .NET Framework 2.0 และ Internet Information Servers 6.0 ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมระบบเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชันที่คุ้มค่า Windows Server 2003 R2 Enterprise Editioin (EE) จะช่วยให้คุณสั่งงาน Windows Server 2003 R2 EE แบบเวอร์ชวลได้ถึง 4 ชุดในเซิร์ฟเวอร์จริงหรือฮาร์ดแวร์พาร์ทิชันเพียงชุดเดียว ด้วยเหตุนี้ค่าใช้จ่ายของเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชันจะลดลง

UBUNTU

อูบุนตู (Ubuntu)=>(สัท.: ùbúntú หรือ uːˈbunːtuː [3]) เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 8.10 รหัส Intrepid Ibex นั้น มูลนิธิ อูบุนตูได้ประกาศว่าจะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 3 ปี ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้ความสามารถ=>สำคัญนักพัฒนา Ubuntu จำนวนมากมาจากชุมชนเดเบียนและ GNOME โดยการออก Ubuntu รุ่นใหม่จะตรงกับรุ่นใหม่ของ GNOME อยู่เสมอ มีนักพัฒนาอีกหลายกลุ่มพยายามที่จะใช้ KDE กับ Ubuntu และทำให้เกิดโครงการ Kubuntu ขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ Xubuntu สำหรับ XFCE และตัว Shuttleworth เองยังประกาศโครงการ Gnubuntu ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด ตามอุดมคติของริชาร์ด สตอลแมน และโครงการ Edubuntu ซึ่งเป็นลีนุกซ์ที่ใช้ภายในโรงเรียนอีกด้วยUbuntu นั้นเน้นในเรื่องความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ใช้เครื่องมือ sudo สำหรับงานบริหารระบบ เช่นเดียวกับ Mac OS Xรองรับการทำงานกับทั้ง CPU ชนิด 32bit และชนิด 64bitรูปแบบการติดตั้งแบบ Live CD ที่รันระบบปฏิบัติการจากแผ่นซีดี ให้ทดลองใช้ก่อนการติดตั้งจริงทุกโครงการของ Ubuntu นั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ผู้ใช้ทุกคนจากทุกประเทศสามารถขอรับซีดี Ubuntu ได้ฟรี (ทาง Ubuntu จะเป็นฝ่ายเสียค่าจัดส่งให้ทางไปรษณีย์) ใต้ชื่อโครงการ Ubuntu Shipit โครงการนี้ยังแบ่งย่อยเป็น Kubuntu Shipit, Xubuntu Shipit และ Edubuntu Shipit ด้วยส่วนติดต่อผู้ใช้หลังจากติดตั้งเสร็จจะเป็นสีน้ำตาลและส้ม ใช้ชื่อชุดตกแต่งนี้ว่า Human ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ใช้ระบบ APT และ Synaptic ในการจัดการโปรแกรมของระบบLinux TLE ซึ่งเป็น Linux พัฒนาโดยคนไทยตั้งแต่ version 8.0 ก็ใช้ Ubuntu เป็นฐานในการพัฒนาประวัติและลำดับการพัฒนา=> Ubuntu เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntuส่วนประกอบต่างๆของUbuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆUbuntu ร่วมมือกับ Debian ในการผลักดันให้เปลี่ยนกลับไปเป็น Debian ถึงแม้ว่าว่าได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนประกอบของทั้งสองไม่สามารถเข้ากันได้ ผู้พัฒนาUbuntuหลายๆคนว่ามีตัวจัดการรหัสของส่วนประกอบของDebianอยู่ภายในตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม แลน เมอดั๊ก ผู้คิดค้น Debian ได้วิจารณ์ในเรื่องความเข้ากันไม่ได้ในหลายๆอย่าง ระหว่างส่วนประกอบของ Ubuntu กับ Debian กล่าวไว้ว่า Ubuntu แตกต่างเป็นอย่างมากจาก Debian ในเรื่องความเข้ากันได้นั้นคือแผนการที่จะแตกแยกโดยมีชื่อเรือกว่า Grumpy Groundhog มันควรจะมั่นคงแน่นอนในการพัฒนาและทดสอบ ผลักดันให้ซอร์สโค๊ด ออกไปโดยตรงจาก การควบคุมการแก้ไข ของโปรแกรมต่างต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์นั้นก็ได้โอนย้ายไปเป็นส่วนของ Ubuntu นั่นควรจะอนุญาตให้ เหล่าpower users และ upstream developers ในการทดสอบโปรแกรมส่วนบุคคล พวกเขาน่าจะได้ทำหน้าที่ ถ้าโปรแกรมได้ถูกกำหนดเป็นส่วนประกอบที่ได้ทำการแจกจ่ายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องการที่จะสร้างส่วนประกอบขึ้นมาด้วยตัวของพวกเขาเอง มันควรจะสามารถจัดเตรียมล่วงหน้า ก่อนคำเตือนของการสร้างที่ผิดพลาด บนโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ของ กัมไปร์ กราวฮ๊อก ร่วมมือกับ Debian Unstable ทุกๆ 6 เดือน และกัมไปร์ กราวฮ๊อก ได้ทำให้เป็นซอฟแวร์แบบสาธารณะแล้วปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัทCanonical คงจบลงในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปีผู้สนับสนุน=> เดลล์ ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 บริษัทDell ได้ประกาศว่าจะขายเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน็ตบุ๊คที่ได้ติดตั้ง Ubuntu ไปด้วย และในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในสหรัฐ. พวกเขาได้เริ่มให้บริการลูกค้าในการใช้งาน Ubuntu ผ่านทางบริษัทDell, ด้วยการสนับสนุนจากบริษัท Canonical ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในอังกฤษ, ฝรั่งเศสและเยอรมันซึ่งเป็นไปด้วยดี ถ้าเลือกใช้เครื่อง DELL ในขณะนี้ก็จะมี ระบบปฏิบัติการ Ubuntu 7.10 กับ โปรแกรมLinDVD ไว้ดูหนังดีวีดีTesco ในเดือนตุลาคม บริษัทTesco ได้ตามมาแนวเดียวกับบริษัทDell โดยเริ่มขายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการUbuntu 6.06 LTS แต่ก็มีส่วนที่ไม่เหมือนกับ Dell ที่ไม่ได้ให้บริษัทCanonical เป็นคนสนับสนุนช่วยเหลือSystem76 ตั้งแต่เริ่มแรกมาในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2005 โดย System76 เป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนันสนุนระบบปฏิบัติการ Ubuntu ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ,โน้ตบุ๊ก และ คอมพิวเตอร์แม่ข่ายการนำเอาซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์มาใช้=>Ubuntu มีการรับรองระบบเพื่ออยู่ในสมาคม third party software Ubuntuได้รับรองการเป็นเจ้าของซอฟแวร์ที่ทำงานได้ใน Ubuntu อย่างไรก็ตามหลายโปรแกรมที่ผู้ใช้คุ้นเคยของระบบปฏิบัติการที่ไม่ฟรี เช่น Microsoft Windows นั้นเข้ากันไม่ได้และไม่ได้ถูกรับรองจาก Ubuntu แต่ซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์บางตัวนั้นไม่ได้กำหนดในเรื่องการแจกจ่ายก็ได้มีการรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Ubuntu เช่นกัน ซอฟแวร์บางตัวที่ไม่ได้รวมอยู่ด้วยใน Ubuntu :ซอฟแวร์ที่เปิดการทำงาน region-locked และวิดีโอ DVDs, ทั้งสองน่าจะได้รับอนุญาตให้ใช้งาน จึงใช้ libraryถอดรหัส DVD ของ Libdvdcss ซึ่งเป็น open-source ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับ Ubuntu และ Medibuntu.ปลั๊กอินของเว็บเบราว์เซอร์บางตัวก็มีเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างเช่น Adobe's (formerly Macromedia's) Shockwave (ที่ไม่ใช่เวอร์ชันของLinux) และ Flashระบบที่ต้องการ=>ในที่สุดเวอร์ชันที่ผ่านของ Ubuntu นั้นสนับสนุนสถาปัตยกรรม Intel x86 และ AMD64 ของเครื่องเดสท็อปที่มีออกมา และ สถาปัตยกรรม Intel x86, AMD64 และ SPARC ของเครื่องแม่ข่าย แต่ก็ยังไม่สนับสนุนสถาปัตยกรรมของ PowerPC (ในเวอร์ชัน7.04 นั้นก็ยังพอที่จะสนับสนุนสถาปัตยกรรมPowerPC ) , IA-64 (Itanium) และ เครื่องเล่นเกมส์ PlayStation 3 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆที่ไม่ได้อยู่ในระบบที่แนะนำก็ยังพอมี Xubuntu,ที่มีพื้นฐานมาจาก Xfce,ที่ต้องการ หน่วยความจำหลัก และพื้นที่ว่างเพียงครึ่งเดียวที่แนะนำServer Edition=>เครื่องที่เก่ามากๆก็เป็นไปได้ที่จะลงระบบปฏิบัติการนี้ได้ (เช่น 75 MHz Pentium หน่วยความ จำหลัก 32 MB) ,ระบบขั้นต่ำที่แนะนำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:-ไมโครโปรเซสเซอร์ 300 MHz สถาปัตยกรรมx86-หน่วยความจำหลัก 64 MB-พื้นที่ Harddisk 500 MB-การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 640×480 pixel-ไดร์ฟ CD-ROMDesktop Editionสำหรับรุ่นที่ใช้กับเครื่องเดสท็อปนั้นมีการแนะนำระบบขั้นต่ำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:-ไมโครโปรเซสเซอร์ 500 MHz สถาปัตยกรรมx86-หน่วยความจำหลัก 192 MB-พื้นที่ Harddisk 8 GB (ในการติดตั้งจริงต้องการ 4 GB )-การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 1024×768 pixel-การ์ดประมวลผลทางเสียง (ถ้ามี)-การ์ดเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก